รู้ไว้เป็นเรื่องดี! วิธีปฐมพยาบาลผู้ป่วย “ลมชัก” เบื้องต้นที่ถูกต้อง
เพราะคำว่าอุบัติเหตุมักเกิดขึ้นได้ไม่แน่นอน บางทีเดินๆ อยู่คนข้างๆ อาจล้มลงไปชักกับพื้นก็มี วันนี้เราเลยนำวิธีปฐมพยาบาลผู้ป่วยอาการลมชักเบื้องต้นมาฝาก เผื่อฉุกเฉินจะได้ช่วยนำส่งโรงพยาบาลเอาไว้ทัน
การปฐมพยาบาลอาการลมชัก แบ่งออกเป็น 2 แบบ
ชักแบบเกร็งกระตุกไม่รู้ตัว
– เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง จัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนหงาย และตะแคงหน้า
– คลายเสื้อผ้าให้หลวม เพื่อให้หายใจได้สะดวก
– ห้ามใช้ไม้กดลิ้น หรือวัตถุใดๆ สอดเข้าไปในปาก เพราะอาจเกิดอันตรายทั้งต่อตัวผู้ป่วยเอง และผู้ที่ให้การช่วยเหลือ
– เลี่ยงให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารทันทีหลังชักใหม่ๆ
– ไม่ควรเร่งให้ผู้ป่วยยืนหรือเดินขณะพักฟื้น ถ้าผู้ป่วยหลับให้พักจนเพียงพอ เพราะอาจเกิดการชักซ้ำได้
ชักเหม่อไม่รู้ตัว
– เฝ้าระวังให้ผู้ป่วยอยู่ในที่ที่ปลอดภัย
– กันไม่ให้เดินไปที่หน้าต่างหรือบันได ระวังการล้ม
– รอจนกระทั่งอาการชักหายไป ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวเอง
– หลีกเลี่ยงการเข้าไปจับรัด หรือฉุดยื้อผู้ป่วยมากเกินไป เพราะในขณะชัก ผู้ป่วยไม่รู้ตัว อาจเกิดการต่อสู้ และทำให้เกิดอันตรายได้
– หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการชัก ได้แก่ การอดนอน, ความเครียด, ออกกำลังกายที่หักโหมหรือทำงานอย่างหนักจนเหนื่อยล้า, การดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด รวมทั้งของหมักดอง เช่นผักหรือผลไม้ดอง
หากอาการค่อยๆ หายดี สามารถให้ผู้ป่วยพักสักครู่จนหายไปเป็นปกติได้ แต่หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น หรือชักนานกว่า 5 นาที ควรรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที