ระวังไว้! อาการ “เครียดแล้วกิน” กับวิธีป้องกัน
เพราะสถานการณ์การใช้ชีวิตในปัจุบันอาจทำให้หลายๆ คนรู้สึกเครียดได้ ซึ่งอาการ “เครียดแล้วกิน” ที่เกิดจากอารมณ์ด้านลบนั้นน่าจะเกิดขึ้นกับหลายๆ คน ทำให้เกิดโรคอ้วนและโรคอื่นๆ ตามมาไม่ขาด วันนี้เราเลยนำวิธีแก้ด้วยตนเองมาให้ ลองทำตามดูเชื่อว่าช่วยได้ไม่มากก็น้อย
วิธีใดที่ดีที่สุดในการป้องกันการรับประทานเพราะความเครียด
– ยอมรับความรู้สึกของตัวเอง
คุณทราบดีว่าอารมณ์กระตุ้นให้เกิดการรับประทานเพราะความเครียด ดังนั้น ทำไมจึงไม่ยอมรับมัน ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง หากเราจะรู้สึกอารมณ์ไม่ดี เหงา หรือเบื่อหน่ายในบางครั้ง ความรู้สึกอาจจะแย่อยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้เป็นอันตราย และคุณไม่จำเป็นต้อง “แก้ไข” มัน ปล่อยให้อารมณ์เกิดขึ้นและผ่านไปโดยไม่ต้องเอาใจไปจมกับมัน
– หาทางเลือกอื่นๆ นอกจากการรับประทาน
การเดินเร็วหรือชาสมุนไพรสักแก้วอาจคลายเครียดได้ดีกว่าการรับประทานอาหาร ถ้าคุณรู้สึกว่าต้องรับประทานอาหาร ให้ลองรับประทานอาหารกรุบกรอบเนื้อแข็ง เนื่องจากสามารถคลายความเครียดได้ด้วยการขยับกล้ามเนื้อขากรรไกร ลองรับประทานอาหารว่างเป็นอัลมอนด์ ถั่วเหลืองสักหนึ่งกำมือ หรือเบบี้แคร์รอต
– รับประทานอาหารตรงเวลา และอย่าข้ามมื้ออาหาร
รับประทานอาหารให้ตรงเวลา เมื่อเกิดความเครียด คุณอาจจะเลื่อนเวลารับประทานอาหารหรือแม้กระทั่งข้ามมื้อนั้นไปเลย และจะส่งผลให้ระดับพลังงานของคุณลดน้อยลงเกินควร และคุณอาจลงท้ายด้วยการรับประทานอาหารมากเกินไปในมื้อถัดไป ถ้าความเครียดคือตัวทำลายความอยากอาหาร ลองรับประทานอาหารปริมาณน้อยลง แต่บ่อยมากขึ้นในระหว่างวัน
– ลดคาเฟอีน
ผู้คนมักรู้สึกขาดพลังงานเมื่อเกิดความเครียด และหันไปพึ่งคาเฟอีนในเครื่องดื่มชูกำลัง ซึ่งอาจขัดจังหวะการนอนในเวลากลางคืน ถ้าคาเฟอีนทำให้คุณตื่นในเวลากลางคืน ให้ลองดื่มกาแฟและชาที่ไม่มีคาเฟอีนแทน
– ฝึกรับประทานอาหารอย่างมีสติ
การรับประทานอาหารอย่างมีสติ หมายความว่าคุณต้องพยายามรับรู้ถึงสัญญาณของความหิวและความอิ่มภายในร่างกาย นอกจากนี้ คุณยังต้องตระหนักถึงสิ่งที่ทำให้คุณอยากรับประทานอาหาร การรับประทานอย่างมีสติจะช่วยให้คุณสามารถเลี่ยงการรับประทานมากเกินไป และทำให้คุณเพลิดเพลินกับอาหารมากยิ่งขึ้น แม้จะรับประทานน้อยลง นอกจากนี้ คุณจะใส่ใจกับสิ่งที่คุณเลือกรับประทานมากยิ่งขึ้น