ประโยชน์ของ “น้ำตาเทียม” ที่คุณควรรู้
เพราะการทำงานทำให้หลายคนต้องใช้สายตาอย่างหนัก อาจจำให้เกิดตาพร่า ระคายเคืองตา หรือแม้แต่ภาวะตาแห้ง ซึ่งปัญหาที่เกิดนี้หลายคนมักมองข้าม “ยาหยอดตา” หรือ “น้ำตาเทียม” อยู่เสมอเพราะมองว่ามันไม่ค่อยสำคัญและคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่รู้หรือไม่ว่าเจ้าสิ่งนี้มีประโยชน์อย่างมาก
– ให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตา
– กระตุ้นให้เกิดการสร้างสารคัดหลั่งในดวงตา ช่วยชะล้างสิ่งสกปรกในดวงตา
– ให้ความรู้สึกสดชื่นดวงตา ให้ดวงตารู้สึกตื่นตัวไม่ง่วงนอน
– ช่วยบรรเทาอาการแผลที่กระจกตา หรือกระจกตาถลอก
– ใช้เป็นตัวช่วยในการรักษาอาการของต้อหิน
ดังนั้นแล้วหากมีการเคืองตา ฝืดตา รู้สึกมีน้ำตาเหนียวๆเกาะหางตา หรือรู้สึกเหมือนมีฝุ่นระคายเคือง การใช้น้ำตาเทียมหยอดตาจะทำให้รู้สึกสบายตา และลดอาการดังกล่าวได้
แม้จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างมาเพื่อนประโยชน์ แต่หากไม่อ่านฉลากให้ดีหรือใช้อย่างไม่รอบคอบก็อาจเกิดอันตรายต่อดวงตาของคุณได้เช่นกัน ก่อนซื้อควรสอบถามเภสัชกรให้ครบถ้วนก่อน หากเกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองตาให้หยุดใช้แล้วเข้าพบแพทย์ทันที
๐ สำหรับอาการตาแห้ง ระคายเคืองตาเล็กน้อย ให้ใช้หยดตาครั้งละ 1-2 หยด วันละ 3-4 ครั้ง (น้ำตาเทียมรูปแบบสารละลายชนิดขวด โดยปกติไม่ควรใช้เกินวันละ 4 ครั้ง เพราะสารกันเสียที่ผสมอยู่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองกระจกตาได้)
๐ สำหรับอาการตาแห้งรุนแรง ให้ใช้หยดตาครั้งละ 1-2 หยด วันละ 10-12 ครั้ง (เฉพาะแพทย์สั่ง)
๐ สำหรับน้ำตาเทียมรูปแบบเจลและแบบขี้ผึ้งป้ายตา ให้ป้ายยาวันละ 1-2 ครั้ง ตอนเช้าและก่อนเข้านอน (ถ้าใช้วันละครั้งแนะนำให้ป้ายตาก่อนเข้านอน)
วิธีใช้น้ำตาเทียม
– ล้างมือให้สะอาด
– แหงนหน้าขึ้น โดยให้อยู่ในมุมที่ถนัดที่สุด แล้วใช้มือข้างหนึ่งดึงเปลือกตาล่างลงมาเบา ๆ ให้เป็นกระเปาะหรือกระพุ้งเพื่อเปิดพื้นที่ของการหยอดน้ำตาเทียม
– เหลือบตามองขึ้นข้างบน และวางปลายหลอดน้ำตาเทียมในตำแหน่งที่ห่างจากดวงตาพอประมาณ แล้วบีบหลอดยาของน้ำตาเทียมให้ยาหยดลงตรงบริเวณดวงตาด้วยมืออีกข้าง โดยจำนวนที่หยดให้ใช้ตามคำสั่งของแพทย์ผู้ให้การรักษา ซึ่งโดยทั่วไปคือประมาณ 1-2 หยด (ควรระมัดระวังไม่ให้ปลายหลอดน้ำตาเทียมแตะโดนบริเวณดวงตาหรือใบหน้า หรือสัมผัสปลายนิ้วมือหรือส่วนใดของร่างกาย เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์เข้าไปเจริญเติบโตอยู่ในยา)
– จากนั้นให้หลับตาและกลอกตาไปมาประมาณ 2-3 นาที พร้อมกับเอียงศีรษะเพื่อไม่ให้น้ำตาเทียมไหลออกมาจากดวงตา
เช็ดยาส่วนเกินที่หยดออกมานอกดวงตาด้วยกระดาษชำระหรือผ้าที่สะอาด
– ล้างมือหลังหยอดตาให้สะอาด เพราะอย่าลืมว่าการติดเชื้ออาจเป็นที่ตาอีกข้างหนึ่งได้ ถ้าเอามือสกปรกที่แตะหนังตาหรือขี้ตามาถูกตาอีกข้างหนึ่ง
– หลังจากหยอดน้ำตาเทียมแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการกะพริบตาถี่ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำตาเทียมไหลออกจากตาเร็วขึ้น และให้ใช้นิ้วมือคลึงเบาๆ บริเวณหัวมุมของเปลือกตาเพื่อช่วยกระจายน้ำตาเทียมให้ทั่วตา