“โรคกินไม่หยุด” ภัยร้ายที่เป็นผลกระทบจากซึมเศร้า-เครียด
เคยไหมที่รู้สึกอยากกินอาหารในปริมาณมากทั้งๆ ที่ไม่หิว ไม่รู้ตัวว่าตัวเองหิวหรืออิ่มแล้ว บางครั้งก็ควบคุมพฤติกรรมการกินของตัวเองไม่ได้ และไม่มีความคิดที่จะลดน้ำหนัก จึงทำให้น้ำหนักเพิ่มเร็วมากและอ้วนขึ้นในที่สุด สาเหตุที่เกิดขึ้นอาจมีหลายอย่างแต่ส่วนมากเป็นผลกระทบจากโรคซึมเศร้าหรือเครียด เพราะนอกจากกินไม่หยุดแล้วมักจะไวต่อความรู้สึกด้านลบจากคนรอบข้างเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของตนอีกด้วย
อาการของโรคกินไม่หยุด
• ผู้ป่วยมักรู้สึกละอาย หรือ รังเกียจตนเองหลังจากรับประทานอาหารปริมาณมาก
• อารมณ์ซึมเศร้าหรือวิตกกังวล
• รับประทานอาหารมากจนถึงจุดที่ไม่สบายตัว หรือ รู้สึกทรมาน
• รับประทานอาหารต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่อาจหยุดได้
• มีความรู้สึกที่ไม่อาจควบคุมการรับประทานอาหารได้
• รับประทานอาหารในช่วงกลางดึก
• มีการซ่อนอาหารไว้รอบบ้าน เพื่อเตรียมตัวที่จะกินได้ทุกที่ทุกเวลา
• น้ำหนักตัวขึ้นลงไม่คงที่
• มีความลำบากใจ และ พยายามหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์
• มีลักษณะของความมั่นใจที่ลดลงผิดปกติ
วิธีรักษา
การรักษาที่มีประสิทธิภาพคือการรักษาทางจิตใจ ดังนั้นแพทย์อาจพิจารณาการรักษาทางจิตใจควบคู่ไปกับการใช้ยาเพื่อการรักษาดียิ่งขึ้น
– รักษาโดยปรับเปลี่ยนที่แนวคิด และ พฤติกรรม การกินโดยมีเป้าหมายที่การลดการกินอาหารที่พลังงานสูง รวมถึงการมองภาพลักษณ์ตนเองให้ดีขึ้น
– จัดการเกี่ยวกับสภาพจิตใจขณะนั้นเช่นภาวะซึมเศร้าและความขัดแย้งในจิตใจของผู้ป่วย รวมถึงความขัดแย้งของผู้ป่วยเองกับสิ่งแวดล้อม