“กระเพาะอาหารเรื้อรัง” โรคร้ายที่คนวัยทำงานต้องเจอ
ปัจจุบันในกลุ่มวัยทำงานมักจะเสี่ยงเป็นโรคกระเพาะมากกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตในสังคมวัยทำงานที่ต้องเร่งรีบและมีความเครียด ส่งผลให้รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือการรับประทานยาแก้ปวดจำพวก Aspirin ยาลดการอักเสบเป็นประจำ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ส่งผลทำให้เกิด “โรคกระเพาะ” ได้ ยิ่งปล่อยไว้นานก็ยิ่งกลายเป็น “โรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง” โดยจะมีอาการดังนี้
– อาการปวดแสบ ปวดตื้อ
– จุกเสียดหรือจุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่
– อาหารไม่ย่อย ลมในท้องเยอะ สามารถเกิด ก่อน-หลังรับประทานอาหารได้
– คลื่นไส้ อาเจียน และอิ่มง่าย
วิธีป้องกัน
– ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา
– อย่าปล่อยให้ท้องว่างเกิน 3 ชั่วโมง
– รับประทานอาหารจำนวนน้อยๆ ย่อยง่าย
– ในแต่ละมื้อควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดท้อง เช่น อาหารรสจัด รสเปรี้ยว อาหารหมักดอง งดเครื่องดื่มกาแฟ ช็อกโกแลต แอลกอฮอล์ บุหรี่ น้ำอัดลมเพราะมีแก๊สมากกระเพาะขยายตัวทำให้ปวดมากขึ้นและกระตุ้นให้หลั่งกรดเพิ่มขึ้นด้วย
– งดการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID)
– หลีกเลี่ยงความเครียด ความวิตกกังวล เพราะความเครียดจะกระตุ้นให้กรดออกมากตามธรรมชาติ เมื่อกรดออกมากจะสร้างแก๊สมาก กระเพาะจะขยายและเกร็งตัวทำให้มีอาการปวดท้องมากกว่าปกติ
– หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการ ปวดท้องรุนแรง น้ำหนักลด อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระสีดำ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที