รู้ไว้ทำตาม! วิธีป้องกันภาวะ “อุจจาระตกค้าง”
ในปัจจุบันมีโรคร้ายเกิดขึ้นใหม่มาตลอด และเพราะการใช้ชีวิตในตอนนี้เองทำให้เรื่องขับถ่ายก็กลายเป็นปัญหาเหมือนกันจึงเกิด “โรคอุจจาระตกค้าง” ขึ้น วันนี้เราเลยนำอาการและวิธีป้องกันด้วยตนเองง่ายๆ มาฝาก
อาการของภาวะอุจจาระตกค้าง หากอุจจาระตกค้างจำนวนมากและปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อร่างกายมากมาย ดังนี้
– ปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง ไม่สบายท้อง
– คลื่นไส้ อาเจียน
– ต้องใช้แรงในการเบ่งอุจจาระอย่างมาก
– รู้สึกว่าอุจจาระไม่สุด หรืออุจจาระไม่หมดท้อง
– มีเลือดปนอุจจาระ
– ปัสสาวะบ่อยจากการที่กระเพาะปัสสาวะถูกกดทับ
– ปวดหลังส่วนล่าง
– หายใจติดขัด หายใจได้ครึ่งเดียว ต้องหายใจลึกๆ ตลอดเวลา
– รับประทานอาหารได้น้อยมาก เบื่ออาหาร
– ขมคอ เรอเปรี้ยว และผายลมตลอดทั้งวัน
– อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ
การป้องกันภาวะอุจจาระตกค้าง
– ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลาทุกวัน โดยเฉพาะช่วงเช้าหลังตื่นนอน ประมาณ 5-7 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด
– ฝึกเบ่งถ่ายอุจจาระอย่างถูกวิธี โดยนั่งบนโถชักโครกแล้วโค้งตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย กรณีที่เท้าเหยียบไม่ถึงพื้นหรือเป็นเด็ก ควรมีที่วางเท้า เพื่อออกแรงเบ่งอุจจาระได้ดีขึ้น
– สำหรับคนที่ขับถ่ายยาก วิธีถ่ายให้หมดท้อง อาจใช้มือกดท้องด้านซ้ายล่างขณะขับถ่ายเพื่อช่วยกระตุ้นให้ลำไส้เคลื่อนตัวได้ดีขึ้น
– ลดอาหารที่มีไขมันสูง เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ต่างๆ
– ดื่มน้ำให้พอเพียง
– ไม่กลั้นอุจจาระเด็ดขาด ควรขับถ่ายทันทีที่ปวด
– หากยังไม่ปวดอุจจาระแต่จำเป็นต้องออกนอกบ้าน ไม่ควรพยายามเบ่งขณะที่ยังไม่ปวด เนื่องจากการเบ่งอุจจาระแรงๆ เป็นการกระตุ้นและเพิ่มแรงดันในลำไส้ หากทำบ่อยๆ อาจทำให้ลำไส้โป่งพอง เกิดริดสีดวงทวารได้
– กรณีมีภาวะท้องผูก ควรรับประทานอาหารที่มีโปรไบโอติกเพิ่ม เช่น นมเปรี้ยว ชาหมัก
– ฝึกหายใจให้ถูกวิธี โดยหายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟบ
– ไม่ควรเกร็งขณะเบ่งถ่าย
– ลุกขึ้นขยับร่างกายหลังรับประทานอาหาร เพื่อช่วยให้ลำไส้ได้บีบตัว และกระเพาะอาหารย่อยอาหารได้ดีขึ้น
– ออกกำลังกายเป็นประจำ
หากทำทุกอย่างแล้วไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ