Skip to content
  • ข่าว

ผู้เขียน: sumone vas

ทำความรู้จักกับ “ว่านหางจระเข้” สมุนไพรที่ควรปลูกติดบ้าน

“ตาปลา” กับสาเหตุและวิธีรักษาด้วยตนเอง

โควิดในไทย “24 กรกฎาคม 65” ติดเชื้อรายใหม่ 2,390 ราย

องค์การอนามัยโลก ประกาศ “ฝีดาษลิง” เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับโลก

“แบดมินตัน” กีฬาสุดฮิตสารพัดประโยชน์

อาการ “เมากัญชา” และวิธีแก้

โควิดในไทย “23 กรกฎาคม 65” ติดเชื้อรายใหม่ 2,578 ราย

ยุโรปผงะ “โควิดระลอกใหม่” เดือนครึ่งติดเชื้อ 3 เท่า-ดับ 3,000 รายต่อสัปดาห์

ประโยชน์ของ “ส้ม” ที่ดีต่อร่างกาย

“มือเท้าชา” แก้ด้วยตัวเองได้ เพียงทำท่าบริหารเหล่านี้

แนะแนวเรื่อง

Previous page Page 1 … Page 392 Page 393 Page 394 … Page 591 Next page

ข่าวสุขภาพ

  • หวั่น ปชช.มั่วขายเหล้าวันพระใหญ่ นวก.มธ.จี้รัฐอธิบายละเอียด กม.ไม่ได้ให้ขายได้ทุกสถานที่

    นักวิชาการธรรมศาสตร์ ห่วงเกิดความสับสนขายเหล้า-เบียร์ “วันพระใหญ่” ปชช. ทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เหตุประกาศสำนักนายกฯ เป็นภาษากฎหมาย-รัฐสื่อสารน้อย หวั่นเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าขายได้ทุกสถานที่-ทุกกรณี แนะเร่งอธิบายให้ชัด พร้อมเสนอตั้ง กก.ร่วม 3 กระทรวงกำหนดโซนพื้นที่ชัดเจน ป้องกันกฎหมายขัดแย้งกันเอง

    เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2568 รศ. ดร.อัจฉรา ชลายนนาวิน คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า รู้สึกกังวลต่อการออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2568 ที่อนุญาตให้สถานที่ 5 รูปแบบ สามารถจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันพระใหญ่ได้ โดยประเด็นที่กังวลคือ อาจเกิดความสับสนและเข้าใจผิดแก่ประชาชนว่ากฎหมายอนุญาตให้สถานที่ทุกประเภทขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อย่างเสรีทุกกรณี ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่

    “ในวันวิสาขบูชานี้ กังวลว่าอาจมีผู้ประกอบการรายย่อยจำนวนหนึ่ง เปิดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ทำผิดกฎหมายด้วยรู้เท่าไม่ถึงการณ์” รศ. ดร.อัจฉรา กล่าว

    รศ. ดร.อัจฉรา กล่าวต่อไปว่า ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ในบางข้อเป็นภาษาทางกฎหมายที่อาจนำมาสู่การตีความอันกำกวมได้ เช่น การขายในสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ หรือสถานประกอบการที่คล้ายกับสถานบริการและตั้งอยู่ในบริเวณแหล่งท่องเที่ยว ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประกาศกำหนด โดยคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.) เป็นต้น สิ่งเหล่านี้อาจกลายเป็นข้อจำกัดสำหรับประชาชนในการทำความเข้าใจ

    ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ภาครัฐควรเร่งดำเนินการสื่อสารทางสังคมให้ประชาชนเกิดความกระจ่าง ซึ่งส่วนตัวมองว่า ที่ผ่านมาภาครัฐยังดำเนินการเรื่องเหล่านี้น้อยเกินไป

    ทั้งนี้ อาจจะทำประเด็นคำถามที่คนมักจะสับสนและสงสัย นำมาทำให้เกิดความเข้าใจ โดยโฆษณาผ่านสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ หรือสื่อทีวีที่มีคนติดตามเยอะอย่างรายการเล่าข่าว นำคำถามที่คนสงสัยมาทำให้กระจ่าง เช่น พื้นที่ท่องเที่ยวทุกที่ขายได้มั้ย ? หรือร้านอาหารกับสถานบริการต่างกันอย่างไร ? หรือวันพระกับวันสำคัญทางศาสนาเหมือนกันหรือไม่ ขายได้แตกต่างกันอย่างไร ? หรือในบางกรณีอาจจำเป็นต้องใช้สื่อท้องถิ่นช่วยประชาสัมพันธ์ เช่น เสียงตามสายในชุมชน หรือสื่อสารไปยังผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) เข้าไปทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการรายย่อยในพื้นที่ ซึ่งอาจไม่ได้ติดตามข่าวสาร และฟังการบอกเล่ามาจากคนอื่น

    นอกจากนี้ ภาครัฐควรจะต้องกลับไปทบทวนด้วยว่า ประกาศฉบับดังกล่าว ขัดแย้งกันเองกับกฎหมายฉบับอื่นๆ หรือไม่ เช่น บางพื้นที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ ขณะที่มีคำสั่งห้ามจากกฎหมายฉบับอื่น ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ในระหว่างทางการบังคับใช้

    “ขอเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหนึ่งชุด โดยทำงานบูรณาการร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อดำเนินการศึกษาประเด็นพื้นที่ว่าตรงไหนที่มีความเหมาะสมในการประกาศอนุญาตให้มีการจำหน่ายได้ เพราะบางพื้นที่แม้จะอยู่ในขอบข่ายของเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาตตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เช่น บางสถานบริการซึ่งอยู่ในโซนพื้นที่ท่องเที่ยว แต่ขณะเดียวก็ยังอยู่ใกล้แหล่งสถานศึกษาหรือโรงเรียน ซึ่งมีข้อบังคับห้ามจากกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง การมีคณะกรรมการจะช่วยแก้ไขปัญหาและคลี่คลายประเด็นที่ทับซ้อนเหล่านี้” นักวิชาการธรรมศาสตร์ กล่าว

  • ความผิดปกติของจอตา เกิดจากโรคความดันโลหิตสูงได้ หากปล่อยผ่านอาจเสียการมองเห็น

  • คณะอนุกรรมการ ม. 41 กทม. มีมติจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ป่วยเสียชีวิต

Fun Database © 2025 - Designed By SS1 Powered by SUMONE