Skip to content
  • ข่าว

หมวดหมู่: ข่าว

โควิดในไทย “9 สิงหาคม 65” ติดเชื้อรายใหม่ 1,955 ราย

เปิดไทม์ไลน์ “คนละครึ่งเฟส 5” ลงทะเบียน-ยืนยันสิทธิวันไหน เงินเข้าเมื่อไหร่

โควิดในไทย “8 สิงหาคม 65” ติดเชื้อรายใหม่ 1,842 ราย

นายกฯ ยันรัฐบาล-สธ. มียา 4 รายการ รักษาโควิด-19 เพียงพอ กระจายให้รพ.ทั่วประเทศ

โควิดในไทย “7 สิงหาคม 65” ติดเชื้อรายใหม่ 2,250 ราย

สหรัฐประกาศฝีดาษลิง เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุข

โควิดในไทย “4 สิงหาคม 65” ติดเชื้อรายใหม่ 2,166 ราย

ญี่ปุ่น ไฟเขียวใช้วัคซีนฝีดาษ ป้องกัน “ฝีดาษลิง” มั่นใจมีเพียงพอฉีดในประเทศ

โควิดในไทย “3 สิงหาคม 65” ติดเชื้อรายใหม่ 2,432 ราย

ไทยพบแล้ว 2 ราย “โควิดรีบาวด์” หายแล้วผลบวกใหม่ ขอผู้ป่วยอย่าซื้อยาต้านไวรัสกินเอง

แนะแนวเรื่อง

Previous page Page 1 … Page 185 Page 186 Page 187 … Page 282 Next page

ข่าวสุขภาพ

  • สปส. แจงผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 750 บาท ได้สิทธิอะไรบ้าง

    เลขาธิการ สปส. แจงเงินสมทบจ่าย 750 บาท ได้สิทธิอะไรบ้าง พร้อมแจง แม้ผู้ประกันตนไม่เจ็บป่วย ไม่ได้ใช้สิทธิรักษาพยาบาล แต่กองทุนประกันสังคมได้เหมาจ่ายให้โรงพยาบาลคู่สัญญาเป็นประจำทุกเดือน เพื่อรองรับความเสี่ยงช่วยเข้าถึงบริการทางการแพทย์ในยามจำเป็นหรือฉุกเฉิน

    นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวถึง สิทธิที่ผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครองจากการนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือนในอัตรา 5% ของค่าจ้าง ซึ่งนายจ้างก็ได้สมทบในอัตรา 5% เช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีส่วนของรัฐบาลที่ร่วมสมทบในอัตรา 2.75% รวมทั้ง 3 ฝ่าย เป็น 12.75% สำหรับใช้ในการจ่ายสิทธิประโยชน์ทั้ง 7 กรณี ให้แก่ผู้ประกันตน ได้แก่ กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และกรณีว่างงาน โดยกำหนดเพดานค่าจ้างสูงสุดสำหรับคำนวณเงินสมทบไว้ที่อัตราเดือนละ 15,000 บาท

    ดังนั้น ผู้ประกันตนที่มีเงินเดือนตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป จะชำระเงินสมทบ 5% จากเพดานค่าจ้างสูงสุด 15,000 บาท หรือเดือนละ 750 บาท นายจ้างจะสมทบด้วย 750 บาท และรัฐบาลร่วมสมทบอีก 412.50 บาท รวมเงินสมทบ 3 ฝ่าย 1,912.50 บาท ซึ่งสำนักงานประกันสังคมได้นำไปจัดสรรสำหรับการจ่ายสิทธิประโยชน์แต่ละกรณี ดังนี้

              • 675 บาท หรือ 4.5% นำไปใช้ในกรณีเจ็บป่วย ซึ่งครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล ทันตกรรม และเงินทดแทนการขาดรายได้ที่ต้องหยุดพักรักษาตัวตามคำสั่งแพทย์ ค่าคลอดบุตร รวมถึงค่าฝากครรภ์และเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร เงินทดแทนกรณีทุพพลภาพ เงินจัดการศพและเงินสงเคราะห์กรณีตาย

              • 1,050 บาท หรือ 7% นำไปใช้ในกรณีชราภาพ และสงเคราะห์บุตร โดยเป็นเงินออมกรณีบำเหน็จบำนาญชราภาพให้ผู้ประกันตน 900 บาท และกรณีสงเคราะห์บุตร 150 บาท

              • 187.50 บาท หรือ 1.25% นำไปใช้สำหรับการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน

    ทั้งนี้ ไม่ใช่ผู้ประกันตนทุกคนต้องชำระเงินสมทบ 750 บาทต่อเดือน ผู้ประกันตนมีค่าจ้างไม่ถึง 15,000 บาท จะชำระในอัตรา 5% ของค่าจ้างจริง เช่น ค่าจ้าง 10,000 บาท จะจ่ายเงินสมทบในอัตรา 500 บาทต่อเดือน เป็นต้น

    นางมารศรี กล่าวต่อว่า ในกรณีที่ผู้ประกันตนไม่เคยใช้สิทธิการรักษาพยาบาล รวมถึงไม่มีครอบครัว อาจรู้สึกว่าไม่คุ้มกับเงินสมทบที่นำส่งนั้น ขอชี้แจงข้อมูลให้ทราบว่า ถึงแม้ผู้ประกันตนไม่เจ็บป่วย ไม่ได้ใช้สิทธิในการรักษาพยาบาล แต่กองทุนประกันสังคมได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลในลักษณะเหมาจ่ายให้กับโรงพยาบาลคู่สัญญาเป็นประจำทุกเดือน เพื่อรองรับความเสี่ยงและให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ในยามจำเป็นหรือในเวลาฉุกเฉินได้ โดยไม่ต้องกังวลถึงค่าใช้จ่าย ในกรณีที่ผู้ประกันตนที่ไม่เคยใช้สิทธิใดๆ เลย ก็ขอให้อุ่นใจได้ว่ายังมีเงินออมกรณีชราภาพคอยดูแลในยามเกษียณ

    นอกจากนี้ กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต ทายาทผู้มีสิทธิจะได้รับเงินค่าทำศพ เงินสงเคราะห์กรณีตาย และเงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตน เป็นหลักประกันว่า หากเกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดขึ้น ก็ยังมีสิทธิประโยชน์จากสำนักงานประกันสังคมให้การดูแลแก่ครอบครัวของผู้ประกันตนต่อไป หากผู้ประกันตนหรือพี่น้องแรงงานท่านใดมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

  • ห่วง! ปัญหาสิ่งแวดล้อมกระทบต่อสุขภาพสูง ภัยพิบัติ 51.8% มลพิษอากาศ 46% การจัดการขยะ 45.1%

  • รองผู้ว่าฯกทม.เผยผลงาน 3 ปี ช่วยคนกรุงเข้าถึงระบบสุขภาพ ยกเลิกใบส่งตัว ในสังกัดกทม.

Fun Database © 2025 - Designed By SS1 Powered by SUMONE