“ดื่มน้ำ – หิวน้ำบ่อย” อาจเป็นสัญญาณอันตรายโรค “เบาจืด”
โรคเบาจืด เกิดจากความผิดปกติของสมดุลน้ำในร่างกาย ซึ่งความผิดปกติของสมดุลน้ำในร่างกายนี้ ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกกระหายน้ำตลอดเวลา นอกจากนี้ยังทำให้ร่างกายผลิตปัสสาวะจำนวนมากอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจส่งผลให้ผู้ป่วยปัสสาวะมากถึง 20 ลิตร/ต่อวัน ซึ่งโดยปกติในกลุ่มคนทั่วไปที่มีสุขภาพแข็งแรงจะปัสสาวะโดยเฉลี่ย 1-2 ลิตร/วัน เท่านั้น
สาเหตุของโรคเบาจืด
– ชนิดที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง เกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมองซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อ โรคเยื่อสมองอักเสบ โรคหลอดเลือดสมอง ร่างกายจึงไม่สามารถหลั่งฮอร์โมนอาร์จินีน วาโซเพรสซิน ได้เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลให้ร่างกายปัสสาวะออกมาจำนวนมาก
– ชนิดที่เกิดจากความผิดปกติของไต เกิดจากความผิดปกติของไต ทำให้ไตไม่ดูดซึมน้ำกลับ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการควบคุมปริมาณการดูดซึมน้ำ ซึ่งนำไปสู่น้ำในปัสสาวะจำนวนมาก
วิธีการรักษาโรคเบาจืด
• ยาลดการขับปัสสาวะ แพทย์อาจจ่ายยาเดสโมเพรสซิน เพื่อลดการขับปัสสาวะ มีทั้งในรูปแบบสเปรย์ แบบเม็ด และแบบหยอดจมูก โดยจะแนะนำตามความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วย
• การรักษาผู้ป่วยเบาจืดจากสาเหตุโรคไต เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาจืดในไตเกิดจากการที่ไตไม่ตอบสนองต่อภาวะที่สมองหลั่งฮอร์โมนอาร์จินีน วาโซเพรสซิน แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการขาดน้ำ ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงมากแพทย์จะแนะนำให้ลดปริมาณเกลือและโปรตีนลง เพื่อให้ไตผลิตน้ำปัสสาวะน้อยลง
• หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงแพทย์อาจแนะนำยาขับปัสสาวะกลุ่มไธอะไซด์ได (Thiazide) ร่วมกับยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal Anti-inflammatory drugs : NSAIDs) เพื่อช่วยลดปริมาณปัสสาวะที่ไตผลิตออกมา