โรคอ้วนอันตราย! ชี้คนไทยกว่า 30% น้ำหนักเกินมาตรฐาน และกว่า 10% อยู่ในเกณฑ์อ้วน
นายกสมาคมความดันโลหิตสูงฯ เผย โรคอ้วนอันตราย! เพราะไม่ใช่แค่น้ำหนักเกิน แต่เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนหลายโรค ชี้คนไทยมากกว่า 30% น้ำหนักเกินมาตรฐาน และมีจำนวนมากกว่า 10% ที่ค่า BMI อยู่ในเกณฑ์อ้วน
เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 68 ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพมหานคร บริษัท โนโว นอร์ดิสด์ จัดงานแถลงลงข่าวเพื่อหารือถึงผลกระทบโรคอ้วน และวิธีรับมือ โดยมุ่งเน้นประโยชน์สำหรับคนไข้ที่มากกว่าการลดน้ำหนัก โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.อภิชาต สุคนธสรรพ์ นายกสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย นายเอ็นริโก้ คานัล บรูแลนด์ ผู้จัดการทั่วไปของบริษัท โนโว นอร์ลิสต์ ฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด และ นางสาวพิชญะ เพียรงาม ผู้ที่เคยดำรงชีวิตร่วมกับโรคอ้วน ร่วมด้วย
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.อภิชาต สุคนธสรรพ์ นายกสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ประชากรโลกประมาณ 8 พันกว่าล้านคน ซึ่งปัจจุบันพบคนไทยมากกว่า 30% น้ำหนักเกินมาตรฐาน และมีจำนวนมากกว่า 10% ที่ค่า BMI อยู่ในเกณฑ์อ้วน และ 2 ใน 3 คนเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ฉะนั้นจะเห็นได้ชัดว่าโรคอ้วนทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อหลอดเลือดและสมอง
ทั้งนี้จากการสำรวจสุขภาพคนไทยปี 2552 ปรากฎว่าคนไทยอ้วนลงพุงรวม 16 ล้านคน พบผู้ชายอ้วน 4.7 ล้านคน ผู้หญิงอ้วน 11.3 ล้านคน และหากจำแนกออกเป็นภูมิภาคเมื่อสำรวจความอ้วนลงพุงในแต่ละพื้นที่พบว่า กทม.อ้วนลงพุงสูงสุด 44.6% รองลงมาภาคกลาง 38.4% ภาคอีสาน 29.0% ภาคเหนือ 26.7% และภาคใต้ 26.0% ตามลำดับ นอกจากนี้คนที่มีค่า BMI 25-30 โอกาสหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เพิ่มขึ้นประมาณ 16%
อย่างไรก็ตามโรคอ้วนจะทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่างๆตามมา ไม่ว่าจะเป็น เจ็บข้อ ปวดเข่า เกิดสมรรถภาพทางเพศเสื่อม โรคมะเร็ง ฯลฯ แต่พบมากสุดคือโรคหัวใจและหลอดเลือด
สำหรับวิธีที่คุมอาหารหรือลดน้ำหนักที่นิยมมากที่สุดที่ผ่านมา จะเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่เลือกวิธีอดอาหาร หรือ IF ซึ่งมีการศึกษาและเปรียบเทียบกันว่าการคุมอาหารกับการออกกำลังกายอันไหนได้ผลดีกว่ากัน ผลปรากฏว่าไม่ต่างกันมาก และอีกวิธีที่คนส่วนใหญ่เลือกคือการกินผักผลไม้ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดี และสามารถช่วยลดน้ำหนักและลดความดันได้ รวมถึงอาจจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้
โรคอ้วนไม่ใช่ประเด็นของน้ำหนักตัวเกินเพียงอย่างเดียว แต่โรคอ้วนคือภาวะที่ซับซ้อนที่อาจนำไปสู่กาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพที่ร้ายแรง รวมถึงโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อรักษาโรคอ้วนเราจำเป็นต้องรับมือร่วมกับภาวะแทรกช้อนอื่น ๆ ที่เกินกว่าการลดตัวเลขน้ำหนักเพียงอย่างเดียว” ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.อภิชาต กล่าวย้ำ
ด้านนางสาวพิชญะ เพียรงาม ผู้ที่เคยดำรงชีวิตร่วมกับโรคอ้วน เปิดเผยว่า โดยปกติเป็นคนอ้วนๆผอมๆ มาตั้งแต่เด็ก จนเมื่อถึงมาถึงช่วงอายุประมาณ 20 กว่า เริ่มมีความสุขกับการกินมากขึ้น และไม่ได้ออกกำลังกาย จนทำให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นสูงสุดอยู่ที่ 100 กิโลกรัม ซึ่งเมื่อเรามีอายุเพิ่มมากขึ้นการลดน้ำหนักจึงเป็นเรื่องยากมาก และไม่สามารถลดด้วยตัวเองได้ หลังจากนั้นได้ตัดสินใจไปตรวจสุขภาพผลปรากฏว่า ความดันสูง น้ำตาลสูง จึงทำให้เรารู้ว่าต้องดูแลตัวเองมากขึ้น หลังจากนั้นจึงได้เข้าสู่กระบวนการปรึกษากับแพทย์โดยแพทย์จะแนะนำให้ลดน้ำหนัก ซึ่งเราก็มาลดน้ำหนักด้วยวิธีของตัวเองกว่า 1 ปีก็ไม่เห็นผลชัด
“ต้องบอกก่อนว่าก่อนหน้านี้กว่าน้ำหนักจะขึ้นมาถึง 100 กิโลกรัม ก็ใช้เวลานานเช่นเดียวกัน เราก็เลยได้แจ้งแพทย์ว่าไม่สามารถทำได้ แพทย์เลยแนะนำว่าต้องลองใช้ยา บวกกับควบคุมอาหารการกินด้วย ซึ่งถ้าหากวิธีการกินยาไม่ได้ผลค่อยจะไปเป็นวิธีการผ่าตัด เราจึงได้เริ่มสเต็ปการใช้ยา โดยประมาณสามถึงสี่เดือนก็เห็นผลและได้หยุดใช้ยาไป เราเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายว่าดีขึ้นยังไงบ้างอาทิ อาการนอนกรนลดลง อาการนอนหลับไม่สนิทก็ดีขึ้น การปวดข้อเข่าก็ดีขึ้น การเข้าสังคมมีความมั่นใจมากขึ้น” นางสาวพิชญะ กล่าว
ด้านนายเอ็นริโก้ คานัล บรูแลนด์ ผู้จัดการทั่วไปของบริษัท โนโว นอร์ลิสต์ ฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดไห้โรคอ้วนเป็นโรคเรื้อรังที่มีความรุนแรง! ในประเทศไทย โรคอ้วนถือเป็นปัญหา โดยมีประชากรมากกว่าร้อยละ 40 ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน” นอกจากนี้โรคอ้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคเรื้อรังร้ายแรง อาทิ เบาหวานโรคหัวใจ และโรคไตเรือรัง โดยเกือบหนึ่งในสามของผู้ที่เป็นไรคอ้วนประสบกับภาวะเหล่านี้ นอกจากจะเป็นความท้าทายด้านสาธารณสุขแล้ว ที่สำคัญโรคอ้วนยังสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในรูปแบบของประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น และอุปสรรคระยะยาวต่อการพัฒนาของประเทศไทย
ในขณะที่โครงการจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนได้มีส่วนสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้ถึงโรคอ้วนและมาตรการป้องกันกัน สถานการณ์โรคอ้วนในประเทศไทยชี้ให้เห็นชัดเจนว่าจำเป็นต้องมีแนวทางใหม่ในการต่อสู้กับความท้าทายจากโรคอ้วนในมิติต่างๆ อย่างครอบคลุม นวัตกรรมการรักษาโรคอ้วนของบริษัทจะมีส่วนช่วยเสริมความพยายามนี้ โดยนำแสนอทางเลือกที่ได้รับการพิสุจน์ทางการแพทย์แล้วกับผู้ที่ที่ตรงชีวิตร่วมกับโรคอ้วนในการพัฒนาสุขภาพและสุขภาวะให้ดีขึ้น
เราเชื่อว่าการจัดการโรคอ้วนควรเป็นมากกว่าการลดน้ำหนักเพียงอย่างเดียว การควบคุมน้ำหนักสามารถนำไปสู่ประโยชน์ด้านสุขภาพอื่น ๆ เช่น การลดความเสี่ยงจากโรคทางหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งในที่สุดจะช่วยเพิ่มภาพชีวิตและลดภาระด้านการดูแลสุขภาพ
“โนโว นอร์ดิสค์มุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ หุ้นส่วน และหน่วยงานในประเทศไทยเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในการดูแลรักษาโรคอ้วนและนำเสนอนวัตกรรมใหม่ เพื่อเป้าหมายเพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน”