วิธีช่วยบรรเทาอาการ “ปวดส้นเท้า”
เพราะการใช้ชีวิตประจำไม่เหมือนสมันก่อน ทำให้หลายคนต้องใช้เวลาเดินหรือยืนนานๆ ก่อให้เกิดอาการ “ปวดส้นเท้า” ซึ่งเป็นอาการที่หลายคนไม่อยากเจอเพราะมันทรมานสุดๆ วันนี้เราเลยนำวิธีรักษาและป้องกันอาการปวดส้นเท้ามาฝาก
อาการปวดส้นเท้า
ผู้ที่เป็นมักจะมีอาการปวดบริเวณส้นเท้าหลังการเดิน อาจปวดหลังตื่นนอนตอนเช้า จะมีอาการปวดมากในก้าวแรกที่ลงจากเตียง หรือปวดหลังจากหยุดกิจกรรมประจำวัน หรือหลังออกกำลังกายแล้วในช่วงเย็น หากไม่ได้รับการรักษา จะทำให้มีอาการปวดเรื้อรัง จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และอาการอาจจะลุกลามไปถึงบริเวณน่อง เข่า สะโพกและหลังได้ อีกทั้งพังผืดส้นเท้าอักเสบอาจทำให้ท่าทางการเดินเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ
วิธีรักษาและป้องกันอาการปวดส้นเท้า
– ประคบเย็นด้วยน้ำแข็งครั้งละประมาณ 15-20 นาที วันละ 3-4 ครั้ง
– รับประทานยาต้านการอักเสบ (NSAIDs)
– ลดน้ำหนักตัวในคนที่มีน้ำหนักตัวมาก
– สวมเฝือกอ่อนสำหรับกลางคืน อุปกรณ์เสริมพิเศษ ที่จะช่วยยืดเท้าขณะที่คุณหลับ
– เลือกรองเท้าที่เหมาะสม หรือใช้แผ่นเจลรองเท้า เพื่อลดแรงกระแทก หลีกเลี่ยนการใส่รองเท้าส้นสูงป็นเวลานานๆ
– ทำกายภาพบำบัด ด้วยวิธี การยืดกล้ามเนื้อน่อง เอ็นร้อยหวาย และ เท้า โดยทำวันละ 2 รอบ รอบละ 10-15 ครั้ง
– ยืนหันหน้าเข้าหากำแพงใช้มือยันกำแพงไว้ วางเท้าที่ต้องการยืดเอ็นร้อยหวายไว้ข้างหลัง งอข้อศอกพร้อมกับย่อเข่าด้านหน้าลงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยขาด้านหลังเหยียดตึงและส้นเท้าติดพื้นตลอดเวลา ย่อลงจนรู้สึกว่าน่องด้านหลังตึงแล้วค้างไว้นับ 1–10 ถือเป็น 1 ครั้ง
– นั่งเหยียดขาข้างที่ต้องการยืดเอ็นร้อยหวาย ใช้ผ้าคล้องที่ปลายเท้าไว้ แล้วดึงเข้าหาตัวจนรู้สึกว่าน่องด้านหลังตึง ค้างไว้นับ 1-10 ถือเป็น 1 ครั้ง
– ยืดฝ่าเท้า โดยนำฝ่าเท้าวางตรงขั้นบันได หรืออิฐโยคะ ดังรูป ยืนตัวตรง เหยียบให้มีความรู้สึกตึงๆ นับค้างไว้ 15 วินาที ถือเป็น 1 ครั้ง
– ทำกายภาพบำบัดโดยการการบริหารเพื่อยืดกล้ามเนื้อน่องและเส้นเอ็นฝ่าเท้า โดยควรทำ อย่างน้อย 3 รอบต่อวันไม่ว่าจะใช้วิธี ยืนหรือนั่งแล้วใช้อุ้งเท้าเหยียบวัสดุกลมๆ เช่น ลูกเทนนิส ลูกปิงปองหรือกะลา
หากทำทุกวิธีที่บอกแล้วยังไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เฉพาะทางเพราะอาจเป็นอาการที่ร้ายแรงได้