ประโยชน์ของ “หญ้าฝรั่น” เครื่องเทศแสนล้ำค่า
“หญ้าฝรั่น” เป็นเครื่องเทศที่มีมานานและถูกนับรวมอยู่ในตำรายา คุณค่าของมันจึงสูง ราคาเลยค่อนข้างแพง ทำให้เจอหญ้าฝรั่นเป็นส่วนประกอบแค่ในอาหารหรูๆ แพงๆ ทั้งนั้น จึงไม่แปลกที่หลายคนจะไม่ค่อยรู้จักมันเท่าไร วันนี้เราเลยยกประโยชน์และสรรพคุณหลักๆ ที่ทำให้เจ้าหญ้าฝรั่นถูกจัดอยู่ในตำรายามาให้ทราบกัน
ประโยชน์และสรรพคุณของหญ้าฝรั่น
– มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
– ช่วยลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด
– บำรุงธาตุในร่างกาย
– ช่วยทำให้เจริญอาหาร
– บำรุงหัวใจ ทำให้โลหิตในร่างกายไหลเวียนดี
– มีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและกระตุ้นการย่อย
– ช่วยถนอมสายตาไม่ให้มืดมนเมื่ออายุมาก และช่วยป้องกันโรคตาบอดกลางคืนได้
– เป็นยาชูกำลัง
– ใช้เป็นยาขับเหงื่อ
– แก้อาการสวิงสวายหรืออาการรู้สึกใจหวิว มีอาการวิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่ามัว คล้ายจะเป็นลม
– ลดไข้ ขับเสมหะ
– ช่วยขับระดูของสตรี
– แก้อาการเกร็ง เส้นกระตุก ลดอาการกล้ามเนื้อกระตุก
– ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งและมีอายุยืนยาว
– ช่วยระงับความเจ็บปวด
– มีการใช้สารสกัดที่ได้จากหญ้าฝรั่นที่มีตัวยาที่ชื่อว่า Swedish bitters เพื่อใช้ในการเตรียมยาบำบัดเพื่อรักษาโรคต่างๆ
– ในตำรายาสมุนไพร หญ้าฝรั่นมีสรรพคุณนำมาใช้ทำเป็นทิงเจอร์ที่มีชื่อว่า Tinctura Opiicrocata
– งานการศึกษาอื่นๆ ระบุว่าหญ้าฝรั่นอาจมีศักยภาพในคุณสมบัติทางด้านการแพทย์อีกหลายอย่าง
– นอกจากนำมาใช้แต่งกลิ่นอาหารแล้ว ยังใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและน้ำหอมหรือน้ำอบเนื่องจากกลิ่นของหญ้าฝรั่นค่อนข้างติดทนนาน
ข้อควรระวัง
แม้ประโยชน์จะมีมากมาย แต่การรับประทานหญ้าฝรั่นในปริมาณมากเกินไปอาจเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น อาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ อาเจียน มีอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนตัว ตัวสั่น ผิวเหลือง มีเลือดกำเดาไหล มีเลือดออกบริเวณเปลือกตาและริมฝีปาก ถ่ายเป็นเลือด เลือดออกภายในมดลูก และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากพบอาการในเบื้องต้นต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน