Skip to content
  • ข่าว

หมวดหมู่: ข่าว

โควิดในไทย “9 มีนาคม 64” ติดเชื้อรายใหม่ 60 ราย

วุฒิสภาสหรัฐฯ โหวตผ่าน “เยียวยาโควิด-19” หลังถกยาวเกือบ 12 ชั่วโมง จ่ายเงินให้ประชาชนตกคนละ 42,000 บาท

อนุทิน เผยวัคซีนโควิด-19 ส่งถึงไทยตอนบ่ายของ 8 มี.ค. คาดอาจเปิดประเทศเร็วๆ นี้

โควิดในไทย “8 มีนาคม 64” ติดเชื้อรายใหม่ 71 ราย

“องค์ดาไลลามะ” ฉีดวัคซีนโควิด-19 พร้อมกระตุ้นคนทั้งโลกให้กล้าฉีดวัคซีน

โควิดในไทย “7 มีนาคม 64” ติดเชื้อรายใหม่ 65 ราย

โควิดในไทย “6 มีนาคม 64” ติดเชื้อรายใหม่ 64 ราย

ผู้เข้าประกวด Miss Grand International ติดโควิด-19 จำนวน 2 ราย

เตือน!! อย่าหลงเชื่อซื้อขายวัคซีนโควิดทางออนไลน์

โควิดในไทย “5 มีนาคม 64” ติดเชื้อรายใหม่ 79 ราย

แนะแนวเรื่อง

Previous page Page 1 … Page 280 Page 281 Page 282 Next page

ข่าวสุขภาพ

  • สปส. แจงผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 750 บาท ได้สิทธิอะไรบ้าง

    เลขาธิการ สปส. แจงเงินสมทบจ่าย 750 บาท ได้สิทธิอะไรบ้าง พร้อมแจง แม้ผู้ประกันตนไม่เจ็บป่วย ไม่ได้ใช้สิทธิรักษาพยาบาล แต่กองทุนประกันสังคมได้เหมาจ่ายให้โรงพยาบาลคู่สัญญาเป็นประจำทุกเดือน เพื่อรองรับความเสี่ยงช่วยเข้าถึงบริการทางการแพทย์ในยามจำเป็นหรือฉุกเฉิน

    นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวถึง สิทธิที่ผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครองจากการนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือนในอัตรา 5% ของค่าจ้าง ซึ่งนายจ้างก็ได้สมทบในอัตรา 5% เช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีส่วนของรัฐบาลที่ร่วมสมทบในอัตรา 2.75% รวมทั้ง 3 ฝ่าย เป็น 12.75% สำหรับใช้ในการจ่ายสิทธิประโยชน์ทั้ง 7 กรณี ให้แก่ผู้ประกันตน ได้แก่ กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และกรณีว่างงาน โดยกำหนดเพดานค่าจ้างสูงสุดสำหรับคำนวณเงินสมทบไว้ที่อัตราเดือนละ 15,000 บาท

    ดังนั้น ผู้ประกันตนที่มีเงินเดือนตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป จะชำระเงินสมทบ 5% จากเพดานค่าจ้างสูงสุด 15,000 บาท หรือเดือนละ 750 บาท นายจ้างจะสมทบด้วย 750 บาท และรัฐบาลร่วมสมทบอีก 412.50 บาท รวมเงินสมทบ 3 ฝ่าย 1,912.50 บาท ซึ่งสำนักงานประกันสังคมได้นำไปจัดสรรสำหรับการจ่ายสิทธิประโยชน์แต่ละกรณี ดังนี้

              • 675 บาท หรือ 4.5% นำไปใช้ในกรณีเจ็บป่วย ซึ่งครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล ทันตกรรม และเงินทดแทนการขาดรายได้ที่ต้องหยุดพักรักษาตัวตามคำสั่งแพทย์ ค่าคลอดบุตร รวมถึงค่าฝากครรภ์และเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร เงินทดแทนกรณีทุพพลภาพ เงินจัดการศพและเงินสงเคราะห์กรณีตาย

              • 1,050 บาท หรือ 7% นำไปใช้ในกรณีชราภาพ และสงเคราะห์บุตร โดยเป็นเงินออมกรณีบำเหน็จบำนาญชราภาพให้ผู้ประกันตน 900 บาท และกรณีสงเคราะห์บุตร 150 บาท

              • 187.50 บาท หรือ 1.25% นำไปใช้สำหรับการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน

    ทั้งนี้ ไม่ใช่ผู้ประกันตนทุกคนต้องชำระเงินสมทบ 750 บาทต่อเดือน ผู้ประกันตนมีค่าจ้างไม่ถึง 15,000 บาท จะชำระในอัตรา 5% ของค่าจ้างจริง เช่น ค่าจ้าง 10,000 บาท จะจ่ายเงินสมทบในอัตรา 500 บาทต่อเดือน เป็นต้น

    นางมารศรี กล่าวต่อว่า ในกรณีที่ผู้ประกันตนไม่เคยใช้สิทธิการรักษาพยาบาล รวมถึงไม่มีครอบครัว อาจรู้สึกว่าไม่คุ้มกับเงินสมทบที่นำส่งนั้น ขอชี้แจงข้อมูลให้ทราบว่า ถึงแม้ผู้ประกันตนไม่เจ็บป่วย ไม่ได้ใช้สิทธิในการรักษาพยาบาล แต่กองทุนประกันสังคมได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลในลักษณะเหมาจ่ายให้กับโรงพยาบาลคู่สัญญาเป็นประจำทุกเดือน เพื่อรองรับความเสี่ยงและให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ในยามจำเป็นหรือในเวลาฉุกเฉินได้ โดยไม่ต้องกังวลถึงค่าใช้จ่าย ในกรณีที่ผู้ประกันตนที่ไม่เคยใช้สิทธิใดๆ เลย ก็ขอให้อุ่นใจได้ว่ายังมีเงินออมกรณีชราภาพคอยดูแลในยามเกษียณ

    นอกจากนี้ กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต ทายาทผู้มีสิทธิจะได้รับเงินค่าทำศพ เงินสงเคราะห์กรณีตาย และเงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตน เป็นหลักประกันว่า หากเกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดขึ้น ก็ยังมีสิทธิประโยชน์จากสำนักงานประกันสังคมให้การดูแลแก่ครอบครัวของผู้ประกันตนต่อไป หากผู้ประกันตนหรือพี่น้องแรงงานท่านใดมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

  • ห่วง! ปัญหาสิ่งแวดล้อมกระทบต่อสุขภาพสูง ภัยพิบัติ 51.8% มลพิษอากาศ 46% การจัดการขยะ 45.1%

  • รองผู้ว่าฯกทม.เผยผลงาน 3 ปี ช่วยคนกรุงเข้าถึงระบบสุขภาพ ยกเลิกใบส่งตัว ในสังกัดกทม.

Fun Database © 2025 - Designed By SS1 Powered by SUMONE