Skip to content
  • ข่าว

ประเทศในเอเซีย ยังพบผู้ป่วยโควิดรายใหม่อย่างต่อเนื่อง


สถานการณ์โรคโควิด-19 เอเซียบางประเทศ วันที่ 4 มีนาคม 2564

sumone vas

Related Posts

4 องค์กรรุกเข้มตรวจมาตรฐาน หลังพบ “ของเล่นแถมเข็มฉีดยา” ระบาด! ย้ำผู้ปกครองเฝ้าระวัง

“ขายเหล้าวันพระใหญ่” ยังไม่อนุญาตร้านเหล้าทั่วไป หวั่นเข้าใจผิดช่วง “อาสาฬหบูชา – เข้าพรรษา”

กรมแพทย์แผนไทยฯ เทสระบบ “ใบสั่งจ่ายกัญชา” ครั้งแรก 9 ก.ค. เริ่มผู้ป่วย 50 ราย

สสส. ขับเคลื่อนกลไกสุขภาวะเชิงพื้นที่เชื่อมภาคีทุกมิติ หนุนรับมือสังคมสูงวัย – ปัญหาเด็กเยาวชน

“ชัยชนะ” แจงสภาฯ ยุทธศาสตร์สู้ HIV/AIDS ยันรัฐบาลให้ความสำคัญ

ข่าวสุขภาพ

  • 4 องค์กรรุกเข้มตรวจมาตรฐาน หลังพบ “ของเล่นแถมเข็มฉีดยา” ระบาด! ย้ำผู้ปกครองเฝ้าระวัง

    กรมอนามัย–ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ-ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยฯ-มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จับมือ ร่วมปกป้องเด็กไทยจากของเล่นอันตราย รุกเข้มตรวจมาตรฐาน-เสริมความรู้ หลังพบ “ของเล่นแถมเข็มฉีดยา” ระบาดขายใกล้โรงเรียน ย้ำ พ่อ-แม่ ต้องคอยเฝ้าระวัง

    เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2568 ณ อาคาร 8 ชั้น 2 DOH DATA CENTER กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย พร้อมด้วย รศ.พญ.พิมล วงศ์ศิริเดช เลขาธิการราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย คุณชนนวัฒน์ กปิลกาญจน์ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัย และป้องกัน การบาดเจ็บในเด็ก และ คุณทัศนีย์ แน่นอุดร รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมแถลงข่าวการปกป้องเด็กจาก “ของเล่นอันตราย” โดยมี ผู้บริหารและบุคลากรกรมอนามัย ร่วมงาน

    พญ.อัมพร กล่าวว่า จากกรณีพบของเล่นเรียกว่า ตุ๊กตาโมนิ หรือของเล่นกดสิว มีลักษณะเป็นตุ๊กตายางรูปสัตว์ พร้อมกับกระบอกและเข็มฉีดยาของจริงที่ใช้ในทางการแพทย์ โดยใช้ฉีดลมหรือน้ำเข้าไปในตัวตุ๊กตา ทำให้เกิดเป็นตุ่มพองยื่นออกมาและกดบีบให้แตก ซึ่งที่ผ่านมามีวางจำหน่ายอย่างแพร่หลายทั้งในแหล่งร้านค้าขายส่ง และแพลตฟอร์มออนไลน์ นั้น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

    ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมวัย ผ่านการเล่นที่เหมาะสม และปลอดภัย ซึ่งของเล่นดังกล่าวจึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อเด็ก เพราะเข็มมีความแหลมคม ทำให้เกิดการบาดเจ็บ หากเป็นเข็มที่ใช้แล้ว อาจมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ นอกจากนี้ การเล่นของเล่นที่เลียนแบบอุปกรณ์ทางการแพทย์ อาจทำให้เด็กเข้าใจผิดและนำอุปกรณ์จริงมาเล่น ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เพื่อปกป้องเด็กซึ่งเป็นอนาคตของชาติ และกระตุ้นให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญในการเลือกของเล่นที่ปลอดภัย กรมอนามัยจึงแจ้งเตือนประชาชนถึงอันตราย และแนะนำให้ผู้ปกครอง รวมถึงบุคลากรในสถานศึกษาดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

    พญ.อัมพร กล่าวต่อไปว่า กรมอนามัยขอให้ครอบครัว โรงเรียน และชุมชนส่งเสริมการเล่น ที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็กอย่างปลอดภัย ภายใต้ 2 ข้อแนะนำ ดังนี้

    1) ความปลอดภัย ของเล่นสำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ต้องมีขนาดใหญ่กว่า 3.2 เซ็นติเมตร หรือ ยาวกว่า 6 เซ็นติเมตร เพื่อป้องกันเด็ก นำของเล่นเข้าปาก กลืนติดคอ หรือ ปิดกั้นทางเดินหายใจ ระวังเชือก สายรัด ที่อาจเป็นอันตราย สำหรับวัสดุที่ผลิตต้องปลอดภัย ไม่มีสารพิษ หรือ สีที่เป็นอันตราย ที่สำคัญ ต้องได้รับรองมาตรฐานการผลิตว่าปลอดภัยสำหรับเด็ก และ

    2) ประโยชน์ที่เด็กควรได้รับ การเล่นผ่านของเล่นทุกชนิดจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการตามวัย เช่น เด็กอายุ 9 – 18 เดือน ควรเลือกอุปกรณ์ที่มีสี เสียง เพื่อส่งเสริมพัฒนาการการรับรู้ ของเล่นควรทำจากพลาสติก ผ้า ลูกบอล ยาง ตุ๊กตา หมอน หรือหนังสือเด็ก เด็กอายุ 2 ปี ขึ้นไป เป็นหนังสือนิทาน ที่มีรูปภาพ และคำอธิบายสั้น ๆ หรือของเล่นที่มีรูปทรงต่างๆ อายุ 5 ปี ขึ้นไป เด็กจะเริ่มจับดินสอ เพื่อวาดรูป ให้เพิ่มเติมกระดาษ สมุดวาดเขียน หรือแผ่นพยัญชนะ ซึ่งการเล่นที่ปลอดภัยควรมีพ่อ แม่ ผู้ปกครอง หรือคุณครูดูแลอย่างใกล้ชิด

    “กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ร่วมกับราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัย และป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้ เพื่อสร้างเกราะป้องกันให้เด็กไทยจากสิ่งที่เป็นอันตราย โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สังคมไทยจะมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ช่วยให้เด็กไทยเล่นอย่างปลอดภัยสร้างเด็กไทยมีพัฒนาการสมวัย เติบโตอย่างมีคุณภาพต่อไป” พญ.อัมพร กล่าว

    ด้าน รศ.พญ.พิมล วงศ์ศิริเดช เลขาธิการราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การที่เด็กเลียนแบบสิ่งที่เหมาะสมจะสร้างพฤติกรรมที่ดี แต่ถ้าให้เลียนแบบสิ่งที่ไม่เหมาะสมอาจจะลืมไปว่าสร้างพฤติกรรมที่อันตรายต่อเนื่อง ของเล่นบางอย่างอาจเป็นสิ่งจุดประกาย ฉะนั้นทำให้ต้องทบทวนว่าเราจะช่วยกระตุ้นให้พ่อแม่หรือแม้กระทั่งโรงเรียนหรือองค์กรต่างๆตระหนักอย่างไรว่าจะเลือกของเล่นให้ลูกอย่างไรและควรทบทวนหรือไม่ว่าของมีประโยชน์จริงหรือไม่

    “อย่างของเล่นชิ้นนี้เป็นเข็มฉีดยาที่เหมือนกับของจริงมาก แม้ผู้ผลิตอาจจะทำให้ไม่ค่อยแหลมเท่ากับการแพทย์ ก็ยังเป็นอันตรายอยู่ ถึงแม้ไม่ทิ่มเข้าไปในเนื้อ แต่ใส่เข้าไปในรูจมูก ใส่เข้าไปในรูหู ก็เป็นสิ่งที่เรามองข้ามไป หรือกลืนเข้าไปในท้องถ้าหากเป็นเด็กวัยเรียนหรือก่อนวัยเรียนจะแยกแยะไม่ได้ว่าอะไรคือของปลอดภัย และอันไหนคือของอันตราย ฉะนั้นเป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องมีความตระหนักว่าจะซื้อของเล่นต้องดูให้ดีว่าอันนี้ใช่หรือไม่” รศ.พญ.พิมล กล่าว

    ทั้งนี้ เราจะช่วยดูเรื่องของเล่นให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ขนาด สี ของมีคม และ มอก. ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ที่สำคัญทุกภาคส่วนต้องมาร่วมมือกัน เพราะเราอยากสร้างสังคมไทยให้มีของเล่นที่ปลอดภัยพัฒนาการสมวัยและสังคมใส่ใจได้มากขึ้น และจะเป็นการป้องกันของเล่นอื่นๆที่เป็นอันตรายที่เกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งโรงเรียนเองก็อาจต้องช่วยดูสิ่งแวดล้อมและโรงเรียนว่ามีของมาขายที่ไม่ถูกต้องหรือไม่

  • “ขายเหล้าวันพระใหญ่” ยังไม่อนุญาตร้านเหล้าทั่วไป หวั่นเข้าใจผิดช่วง “อาสาฬหบูชา – เข้าพรรษา”

  • กรมแพทย์แผนไทยฯ เทสระบบ “ใบสั่งจ่ายกัญชา” ครั้งแรก 9 ก.ค. เริ่มผู้ป่วย 50 ราย

Fun Database © 2025 - Designed By SS1 Powered by SUMONE