ชูหลักสูตรพัฒนาผู้บริหาร MEP เดินหน้าเศรษฐกิจสุขภาพ นำร่อง ATMPs ศูนย์การแพทย์บางรัก
“สมศักดิ์” ชูหลักสูตร Medical Hub Executive Program (MEP) พัฒนาผู้บริหารเป็นกำลังสำคัญสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจสุขภาพ รับ“เมดิคัลและเวลเนสฮับ” ร่วมธุรกิจโรงแรมพัฒนาแพคเกจสุขภาพ เตรียมนำร่องผลิตภัณฑ์ ATMPs ศูนย์การแพทย์บางรักแห่งแรก พร้อมหนุนเวชศาสตร์ความงาม จิตเวชและพฤติกรรมบำบัด และเทคโนโลยีช่วยเจริญพันทางการแพทย์
7 นโยบายเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจสุขภาพ
เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 68 ที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในการมอบนโยบายด้านเศรษฐกิจสุขภาพ ในการอบรมหลักสูตร Medical Hub Executive Program (MEP) 2025 ว่า กระทรวงสาธารณสุขมี 7 นโยบายเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจสุขภาพ สู่ Medical and Wellness Hub เพื่อช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้ประมาณ 6.9 แสนล้านบาทดังที่เคยแถลงนโยบายแล้ว ประกอบด้วย
1.การจัดตั้งสำนักงานนโยบายและเศรษฐกิจสาธารณสุข ทำหน้าที่ วิเคราะห์ วิจัย และกำหนดนโยบายบนพื้นฐานของข้อมูลที่แม่นยำ
2. ยกระดับภูมิปัญญาไทย เช่น การนวดแผนไทย และการนวดเชี่ยวชาญพิเศษ 7 กลุ่มอาการ
3. ยกระดับสมุนไพรไทย ยาไทย อาหารไทย ผลักดันการใช้ยาสมุนไพรในระบบหลักประกันสุขภาพ ส่งเสริมยาไทยและอาหารไทยเพื่อสุขภาพให้เป็นที่ยอมรับและเข้าสู่ตลาดโลก
4.ส่งเสริมการท่องเที่ยวและเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ ร่วมมือกับธุรกิจโรงแรมพัฒนาแพคเกจสุขภาพ เป็นการรวบรวมของดีขงประเทศไทยที่มีอยู่แล้วทั้งอาหารไทย เมืองท่องเที่ยว โรงพยาบาล สมุนไพรไทย นวดไทย เป็นต้น มาจัดเป็นแพคเกจแนะนำให้นักท่องเที่ยวรับรู้มากยิ่งขึ้น
5. ศูนย์กลางอุตสาหกรรมเครื่องมือทางการแพทย์ ส่งเสริมการผลิตในประเทศ ยกระดับการอนุมัติ อนุญาต และขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์
6.ศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง หรือผลิตภัณฑ์ATMPs ตั้งเป้าเป็นผู้นำด้านการแพทย์สมัยใหม่ระดับโลก ภายในปี 2570 โดยจะมีการเริ่มต้นสถานพยาบาลแซนด์บ็อกซ์ทดลองในเรื่องนี้ นำร่องที่ศูนย์การแพทย์บางรัก กรมควบคุมโรคเป็นห้องแล็ปแห่งแรก ภายในเดือนเม.ย.2568
7.การดูแลบุคคลและความงาม ทั้งเวชศาสตร์ความงาม จิตเวชและพฤติกรรมบำบัด การอุ้มบุญและเทคโนโลยีช่วยเจริญพันทางการแพทย์ การส่งเสริมความหลากหลายทางเพศ
“ผู้บริหารที่เข้ารับการอบรมหลักสูตร MEP 2025 นี้ จะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจสุขภาพ ผลักดันให้ประเทศไทยขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรและเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติต่อไป”นายสมศักดิ์กล่าว
ขณะที่ นายธานี มณีนุตร์ รองประธานรุ่น MEP 2025 กล่าวว่า ผู้บริหารทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจที่เข้าร่วมหลักสูตร MEP 2025 รุ่นที่ 2 มีข้อเสนอเชิงนโยบาย 2 เรื่องสำคัญในการขับเคลื่อนเมดิคัลและเวลเนสฮับ(Medical and Wellness Hub)ของประเทศไทย ประกอบด้วย
1.แต่งตั้งทูตสาธารณสุข เป็นทูตพิเศษภายใต้กระทรวงสาธารณสุข เพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทยในเวทีสุขภาพโลก เช่น องค์การอนามัยโลก(WHO) สหประชาชาติ(UN) รวมถึง ประสานงานเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ ,ส่งเสริมไทยเป็นศูนย์กลาง อุตสาหกรรมสร้างสรรค์งานอีเวนท์ด้านสุขภาพ หรือ ไมซ์ (MICE)ด้านสุขภาพ และเชื่อมโยงเครือข่ายสุขภาพไทยกับองค์กรระดับโลก
2.จัดตั้งองค์การมหาชนเพื่อส่งเสริม MICE ด้านสุขภาพ เพื่อขับเคลื่อนไทยเป็น Medical and Wellness Hub ดึงดูดและประมูลสิทธิ์จัดงานประชุมระดับโลก ,ยกระดับมาตรฐานสถานที่และพัฒนาบุคลากร และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
ด้าน นพ.ภานุวัฒน์ ปานเกตุ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า หลักสูตร MEP 2025 จัดขึ้นเป็น รุ่นที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้บริหารทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจให้มีองค์ความรู้ทางวิชาการที่ทันสมัย ดำเนินธุรกิจถูกต้องตามกฎหมาย เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันด้านธุรกิจสุขภาพ พร้อมก้าวเข้าสู่เวทีโลก ภายใต้ 4 โมดูลแห่งนวัตกรรม “Global for D H S S” มุ่งเน้นกฎหมายที่เกี่ยวข้องสำหรับการดำเนินธุรกิจสุขภาพ กรณีศึกษากิจการด้านสุขภาพที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ทั้งบริการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ ภาคการศึกษา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมถึงความก้าวหน้าในงานวิจัยและนวัตกรรมสมัยใหม่ ทิศทางนโยบายรัฐบาล สภาพสังคม เศรษฐกิจ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต รองรับความเป็นสากล
ตลอดจนการแสวงหาความร่วมมือในการประกอบธุรกิจที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ยกระดับอุตสาหกรรมสุขภาพให้มีมูลค่าสูงรองรับระดับนานาชาติ และมีข้อเสนอเชิงนโยบายต่ออุตสาหกรรม Health and Wellness โดยมีระยะเวลาการอบรมรวม 14 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ – 13 พฤษภาคม 2568 และศึกษาดูงาน World Expo 2025 Osaka, Kansai Japan ณ นครโอซาก้า และเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น โดยมีผู้บริหารทั้งภาครัฐและเอกชน