Skip to content
  • ข่าว

ประเทศในเอเซีย ยังพบผู้ป่วยโควิดรายใหม่อย่างต่อเนื่อง


สถานการณ์โรคโควิด-19 เอเซียบางประเทศ วันที่ 4 มีนาคม 2564

sumone vas

Related Posts

กรมอนามัย พบสารหนูแม่น้ำกก ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง แต่ไม่เกินค่าอ้างอิง!

“สมศักดิ์” ชูประโยชน์นับคาร์บ เริ่มเห็นผล! ยกผู้ป่วย NCDs หยุดยา – ลดยาได้กว่า 5 หมื่นคน

4 องค์กรรุกเข้มตรวจมาตรฐาน หลังพบ “ของเล่นแถมเข็มฉีดยา” ระบาด! ย้ำผู้ปกครองเฝ้าระวัง

“ขายเหล้าวันพระใหญ่” ยังไม่อนุญาตร้านเหล้าทั่วไป หวั่นเข้าใจผิดช่วง “อาสาฬหบูชา – เข้าพรรษา”

กรมแพทย์แผนไทยฯ เทสระบบ “ใบสั่งจ่ายกัญชา” ครั้งแรก 9 ก.ค. เริ่มผู้ป่วย 50 ราย

ข่าวสุขภาพ

  • กรมอนามัย พบสารหนูแม่น้ำกก ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง แต่ไม่เกินค่าอ้างอิง!

    จับสถานการณ์สารหนูในแม่น้ำกก ล่าสุด ‘อธิบดีกรมอนามัย’ ยันไม่พบสารอาร์เซนิกในร่างกายเด็กจนไม่ปลอดภัย เผยผลตรวจ 25 คนในช่วงที่ผ่านมาไม่เกินมาตรฐาน ไม่พบพิษสะสม หรือข้อบ่งชี้อาการน่ากังวล ยังติดตามต่อเนื่อง เพราะแม่น้ำกกยังวิกฤตอยู่

    นับตั้งแต่พื้นที่ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ประสบปัญหาอุทกภัยหนัก มาจนถึงภัยสารพิษปนเปื้อนในแม่น้ำกก อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ และอ.เชียงแสน จ.เชียงราย ที่ล่วงเวลามามากกว่า 3 เดือนภายหลังสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 เชียงใหม่ เปิดผลตรวจวัดคุณภาพน้ำกก พบปนเปื้อนโลหะหนัก ตั้งแต่ช่วงเม.ย.2568 กระทั่งมีการตรวจวัดคุณภาพน้ำอยู่เรื่อยๆ แม้จะพบสารหนูในร่างกายกลุ่มตัวอย่าง แต่ข้อมูลสาธารณสุขยังยืนยันว่า ไม่ได้รับผลกระทบ และร่างกายสามารถขับออกเองได้

    คำถามคือ แล้วหากได้รับสารหนูอย่างสม่ำเสมอ หลายเดือนจะเป็นอย่างไร…

    โดยเมื่อวันที่ 7 ก.ค.ที่ผ่านมา สำนักข่าวชายขอบ เผยข้อมูลจากแหล่งข่าวใน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.)เชียงใหม่ ได้แจ้งผลการตรวจค่าสารโลหะหนักของชาวบ้าน 4 รายในหมู่บ้านแก่งทรายมูล ต.ท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นหมู่บ้านแรกที่แม่น้ำกกไหลจากรัฐฉาน ประเทศพม่าเข้ามายังฝั่งไทย ซึ่งเก็บตัวอย่างปัสสาวะไปตั้งแต่วันที่ 19 พ.ค. 2568 ผลปรากฏว่ามี 2 คนซึ่งเป็นเด็กอายุ 6 ขวบและ 2 ขวบ มีค่าสารหนูในร่างกายมากจนผิดปกติ ซึ่งจาการสอบถามทราบว่าเด็กทั้ง 2 รายได้กินปลาจากแม่น้ำกกอยู่เป็นประจำ

    อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวในพื้นที่ระบุว่า ทันทีที่ข่าวดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ปรากฎว่าหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องตามหาตัวผู้ให้ข่าวทันที ซึ่งแน่นอนว่า หลายคนปฏิเสธ คำถามคือ หากมีการควานหาคนให้ข่าวจริง เป็นสิ่งสมควรแล้วหรือไม่ สิ่งที่ควรทำ ณ ตอนนี้ และประชาชนไม่ใช่แค่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ต่างเฝ้ารอว่า รัฐบาลจะแก้ไขเรื่องนี้อย่างไร

    ขณะที่ ผศ.ดร.เสถียร ฉันทะ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย เผยว่า การตรวจพบสารหนูเกินมาตรฐานในคน นั่นหมายความว่าสารโลหะหนักชนิดนี้ได้เข้าสู่คนแล้วแต่มากน้อยแค่ไหนต้องรอการเปิดเผยผลการตรวจ ซึ่งหน่วยงานราชการไม่ควรปกปิด หน่วยงานราชการควรเร่งรัดทำแผนรับมือความเสี่ยงในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ ด้านเกษตรกรรม ด้านประมง เพื่อที่จะได้มีมาตรการแก้ไขปัญหาต่อไป ไม่ใช่คอยแต่ปกปิดข้อมูลเพราะถูกกดดันมาจากฝ่ายการเมืองที่กำลังสั่นคลอน

    ล่าสุดผู้สื่อข่าว Hfocus สอบถามเรื่องนี้ไปยังกรมอนามัย อีกหน่วยงานในการตรวจสอบคุณภาพน้ำจากแม่น้ำกก โดย พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ให้ข้อมูลว่า สารปนเปื้อนในแม่น้ำกกเกิดขึ้นและมีการตรวจวัดคุณภาพน้ำตั้งแต่เดือน เม.ย.2568 ที่ผ่านมา ซึ่งกรมอนามัย ได้ทำงานร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ และในพื้นที่ทั้งเขตเชียงราย เชียงใหม่ ซึ่งการตรวจแหล่งน้ำจะเป็นบทบาทของกรมควบคุมมลพิษ หรือสัตว์น้ำจะเป็นกรมประมง มาช่วยกันดูแล

    “ส่วนที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ จะเป็นบทบาทของกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย มีการสุ่มตรวจน้ำประปา น้ำประปาหมู่บ้าน ที่ใกล้แหล่งน้ำปนเปื้อน พบว่ามีความปลอดภัย ไม่มีสารหนูปนเปื้อน แต่น้ำประปาบางแห่ง กลับมีความเสี่ยงจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งก็ให้ข้อมูลช่วยพัฒนาระบบให้ดีขึ้นเป็นกรณี” พญ.อัมพร กล่าว

    นอกจากนี้ กรมอนามัย ยังตรวจร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำปนเปื้อนสารหนู หรือสารอาร์เซนิก (Arsenic) ค่อนข้างสูง ซึ่งได้ตรวจร่างกาย ตรวจปัสสาวะ มีการตรวจเช่นนี้ตั้งแต่เดือน เม.ย. จนถึงปัจจุบัน ทำต่อเนื่องเรื่อยๆ

    “กรณีข่าวลือที่พบสารหนูในร่างกายจากการตรวจปัสสาวะ จนทำให้คนในพื้นที่กังวลอันตรายที่จะเกิดขึ้น แต่เรามีข้อมูลยืนยันว่า ตั้งแต่ตรวจร่างกายที่ผ่านมารวมแล้ว 25 ราย ซึ่งมีการตรวจคัดกรอง ทั้งเด็กเล็กอายุน้อยสุด 3 ปี ไปจนถึงวัยทำงาน ผู้สูงอายุเกิน 70 ปี ทุกคนที่ตรวจไม่พบความผิดปกติทางร่างกายจากสารหนู และการตรวจปัสสาวะก็ไม่พบสารอาร์เซนิกเกินมาตรฐาน ที่เสี่ยงก่ออันตรายแต่อย่างใด ที่สำคัญเรามีการติดตามทุก 1 เดือนหลังผลตรวจออกแล้ว”

    แม้จะไม่พบอันตราย แต่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องยังคงตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง และ ณ ขณะนี้ ในแม่น้ำยังไม่ปลอดภัย ขอให้ระงับการใช้แหล่งน้ำ ทั้งการดื่ม การสัมผัสโดยตรง ส่วนสารอื่นๆ อย่างแคดเมียม ก็ไม่พบเกินมาตรฐานเช่นกัน

    พญ.อัมพร กล่าวว่า กรมอนามัย โดยศูนย์อนามัยที่ 1 ได้ทำงานร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ไม่พบรายงานการรับสารหนูในเด็กตามที่มีรายงานข่าวช่วงที่ผ่านมา แต่จากการตรวจสอบร่างกายของกลุ่มตัวอย่าง มีสารหนูในร่างกายจริง แต่ไม่เกินมาตรฐาน และสามารถขับออกได้เองตามธรรมชาติ อย่างทางปัสสาวะ เป็นต้น

    “ต้องชี้แจงว่า โดยปกติคนทั่วไปอาจมีสารหนูอยยู่ในร่างกายได้ เนื่องจากสารหนูที่ได้รับไม่ใช่รูปแบบที่มีพิษเสมอไป อย่างการรับประทานอาหารทะเลก็มีโอกาสเจอสารอาร์เซนิก แต่ต้องย้ำว่า ไม่ใช่รูปแบบที่เป็นอันตราย ดังนั้น เวลาจะตรวจหาสารหนู จะต้องแจ้งกลุ่มตัวอย่างให้งดอาหารทะเล ซึ่งค่าอาร์เซนิกที่ไม่เกินมาตรฐานจะอยู่ที่ 100 ไมโครกรัมต่อลิตร”

    อย่างไรก็ตาม การตรวจหาสารอาร์เซนิกในปัสสาวะที่ไม่เกิน 100 ไมโครกรัมต่อลิตร เป็นการตรวจแบบไม่แยกประเภทอินทรีย์ หรืออนินทรีย์ แต่หากพบสารอาร์เซนิกปริมาณสูงกว่าที่ผ่านมาก็อาจต้องพิจารณาการตรวจแยก ระหว่างอินทรีย์ และอนินทรีย์ เพื่อให้ได้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ลึกขึ้น แต่ขณะนี้ยังไม่ถึงขั้นนั้น เนื่องจากยังอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย

    เมื่อถามกรณีข่าวที่ออกไปว่า เจอสารหนูในเด็ก ก็ถือเป็นเรื่องจริง เพราะเจอได้แต่ไม่เกินมาตรฐาน พญ.อัมพร กล่าวว่า อาจใช่ แต่เราไม่รู้ว่า แหล่งข่าวนั้นให้ข้อมูลครบหรือไม่ อย่างไร หากมีข้อสงสัยขอให้แจ้งหรือสอบถามมายังกรมอนามัย หรือสอบถามสาธารณสุขในพื้นที่ได้ เพราะหากคนตระหนกเกินไป ย่อมส่งผลกระทบได้

    เมื่อถามว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ที่ได้รับสารหนูอย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่เกินมาตรฐาน แต่หากรับบ่อยๆ จะส่งผลอย่างไร พญ.อัมพร ย้ำว่า ไม่ส่งผล เพราะไม่เกินค่ามาตรฐาน อย่างเด็ก ก็ไม่กระทบต่อการพัฒนาของเด็ก หากเป็นผู้ใหญ่ก็ไม่เกิดภาวะเป็นพิษ ร่างกายขับออกได้ อย่างไรก็ตาม กรมอนามัยยังคงเฝ้าระวังต่อเนื่อง ทั้งน้ำประปา น้ำดื่ม และการตรวจร่างกายประชาชนที่มีความเสี่ยง

    เมื่อถามว่ามีอาการบ่งชี้ของการรับสารหนูเกินมาตรฐานหรือไม่ อธิบดีกรมอนามัย ให้ข้อมูลว่า ไม่เฉพาะเจาะจง อย่างเพลีย ขับถ่ายไม่ปกติ เวียนศีรษะ ซึ่งแพทย์หรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่จะมีการเฝ้าระวัง หากพบอาการสุ่มเสี่ยงจะตรวจหาสารหนู เพื่อติดตามอย่างใกล้ชิด แต่การได้รับสารหนู อันตรายที่ต้องระวังมากที่สุดคือ ระยะยาว ซึ่งก่อโรคมะเร็งได้

    “กรณีบางส่วนมีคำถามว่า ส่วนราชการปกปิดข้อมูลเรื่องการตรวจสารหนูในร่างกายประชาชนในพื้นที่ ต้องยืนยันว่า เราไม่มีเหตุผลที่จะปิดข้อมูล เราต้องแจ้งเตือนประชาชนให้เร็วที่สุด หากพบความผิดปกติ ต้องรีบส่งสัญญาณ ไม่ใช่เงียบ เพราะจะส่งผลกระทบ และกรณีข่าวที่ออกมา ทางกรมฯ จะให้ทางศูนย์อนามัยที่ 1 ลงไปตรวจสอบเพื่อความมั่นใจของพื้นที่อีกครั้ง” พญ.อัมพร กล่าวทิ้งท้าย

  • “สมศักดิ์” ชูประโยชน์นับคาร์บ เริ่มเห็นผล! ยกผู้ป่วย NCDs หยุดยา – ลดยาได้กว่า 5 หมื่นคน

  • 4 องค์กรรุกเข้มตรวจมาตรฐาน หลังพบ “ของเล่นแถมเข็มฉีดยา” ระบาด! ย้ำผู้ปกครองเฝ้าระวัง

Fun Database © 2025 - Designed By SS1 Powered by SUMONE