Skip to content
  • ข่าว

หมวดหมู่: ข่าว

“โรคอ้วน” ภัยสุขภาพกระทบต่อเศรษฐกิจระดับชาติ เดนมาร์ก-ไทย เคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเพื่อคนรุ่นหลัง

ชูต้นแบบความสำเร็จ! “รพ.พระนั่งเกล้า” ในการบำบัดยาปฏิชีวนะในน้ำเสีย ช่วยลดอัตราเสียชีวิต-ปชช.สุขภาพดี

นักวิชาการ ชี้สังคมไทยประสบปัญหา “คนแก่เยอะ-ตายลำพัง” จี้ภาครัฐผลิตนักจัดการสังคมสูงวัยในชุมชน

หมอจุฬา เตือนบีบนวด กดผิดจุด เสี่ยงชีวิต!

สปสช. ลุยตรวจคัดกรองสุขภาพกลุ่มเปราะบาง “สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี” พร้อมบริการทันตกรรมเคลื่อนที่

เตือน! มองเห็นแย่ลง สายตาเปลี่ยนบ่อย ส่งสัญญาณของโรคกระจกตาโก่ง

8 พฤษภาคม วันกาชาดโลก ยืนหยัดเคียงข้างมนุษยชาติบริจาคโลหิต ช่วยชีวิตผู้ป่วย

นายกสภาการพยาบาลแจงอีกครั้ง! เผยทางออกช่วย ‘พยาบาลโรคไต’ รุ่นเก่าราว 1 พันคนไม่ผ่านการขึ้นทะเบียน

กรมการแพทย์แผนไทยฯ แนะปชช.ตรวจสอบใบรับรองให้ชัดเจน ก่อนรักษากับ “หมอพื้นบ้าน”

ย้ายที่พักอาศัยไม่ต้องกังวล ผู้มีสิทธิบัตรทองเปลี่ยนสถานพยาบาลประจำตัวได้ 4 ครั้งต่อปี

แนะแนวเรื่อง

Previous page Page 1 Page 2 Page 3 Page 4 … Page 283 Next page

ข่าวสุขภาพ

  • สภาการพยาบาลแจงความคืบหน้าช่วย “พยาบาลไตเทียม” จัดทำหลักสูตรเทียบโอนแล้วเสร็จ มิ.ย.นี้

    สภาการพยาบาล เผยความคืบหน้าแก้ปัญหา “พยาบาลไตเทียม” ไม่ผ่านการขึ้นทะเบียนเวชปฏิบัติ ล่าสุดจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมเพิ่มเติม และเทียบโอนประสบการณ์เข้าสู่หลักสูตรที่สภาฯ รับรอง คาดแล้วเสร็จ มิ.ย.นี้

    ตามที่มีการนำเสนอข่าว “พยาบาลไตเทียม” ออกมาเรียกร้องปมไม่ผ่านการขึ้นทะเบียน “พยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนการฟอกไต” เหตุต้องผ่านการอบรมหลักสูตรที่สภาการพยาบาลรองรับ ทั้งที่ปฏิบัติงานมาเป็นสิบๆปี และผ่านการอบรมและได้ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยนั้น

    ล่าสุดวันที่ 18 พ.ค. 68 สภาการพยาบาล เผยแพร่ข่าวความคืบหน้าแก้ปัญหา “พยาบาลไตเทียม” กลุ่มดังกล่าวผ่านเฟซบุ๊กของสภาการพยาบาล โดยระบุว่า สภาการพยาบาลยังคงเดินหน้า เร่งแก้ปัญหาพยาบาลไตเทียม เรื่องการขึ้นทะเบียนเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไตกับสภาวิชาชีพ จากข้อจำกัดเรื่องการจบ “หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการบำบัดทดแทนไต” มาแล้ว แต่เป็นหลักสูตรที่สภาการพยาบาลไม่ได้รับรอง รวมถึงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากเกณฑ์ประสบการณ์ ทั้งนี้ สภาการพยาบาล ได้เคยสื่อสารชี้แจงแนวทางช่วยเหลือเบื้องต้นแล้วเมื่อ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา

    กระทั่งเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2568 รศ.ดร.สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ นายกสภาการพยาบาล พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารสภาการพยาบาล ได้ประชุมติดตามความคืบหน้าการแก้ปัญหา โดยได้หารือร่วมกับนายกสมาคมพยาบาลโรคไตแห่งประเทศไทย พร้อมเชิญสถาบันการศึกษาด้านการพยาบาลได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา และสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิราสภากาชาดไทยร่วมประชุมด้วยที่ประชุมได้รับทราบ ข้อมูลสถานการณ์พยาบาลไตเทียม จากการสำรวจของสมาคมพยาบาลโรคไตฯ เมื่อมิถุนายน 2567 และพฤษภาคม 2568 พบว่า สมาชิกของสมาคมพยาบาลโรคไตฯ ที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไตกับสภาการพยาบาลได้ มีจำนวน 620 คน โดยเป็นผู้ที่ไม่ผ่านการอบรมในหลักสูตรที่สภาการพยาบาลรับรอง แต่สอบผ่านเป็นผู้เชี่ยวชาญของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยและผู้ที่ยังไม่ได้สอบเป็นผู้เชี่ยวชาญ

    ที่ประชุมได้เห็นชอบร่วมกันในการกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาพยาบาลไตเทียมครอบคลุมใน 3 ประเด็นคือ ด้านหลักสูตรเทียบโอน ด้านการบริหารจัดการ และด้านกรอบเวลาดำเนินงาน โดยได้แต่งตั้งคณะทำงานร่วมจากทุกฝ่าย ทั้งนี้ สภาการพยาบาลจะจัดหลักสูตรการฝึกอบรมเพิ่มเติม และเทียบโอนประสบการณ์เข้าสู่หลักสูตรที่สภาการพยาบาลรับรอง มีกำหนดให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2568

    สำหรับรูปแบบหลักสูตรเทียบโอนจะปรับมาจากหลักสูตรเดิมคือ “หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการบำบัดทดแทนไต(สำหรับพยาบาลผู้เชี่ยวชาญไตเทียม) พ.ศ.2551” ที่สภาการพยาบาลเคยใช้ในการแก้ปัญหานี้มาแล้วในปี 2551-2552 ในลักษณะให้ศึกษาด้วยตนเองตามห้วงเวลาที่กำหนด จากนั้นจะต้องเข้าสอบวัดประเมินความรู้เพื่อรับประกาศนียบัตร และนำไปขึ้นทะเบียนเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไตกับสภาการพยาบาลได้ต่อไป

    นอกจากนี้ จะมีการสำรวจและรวบรวมข้อมูลกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลไตเทียมเป้าหมาย โดยสมาคมพยาบาลโรคไตฯให้ครบถ้วนและครอบคลุมสภาการพยาบาลในฐานะองค์กรวิชาชีพ ขอเรียนว่า การดำเนินการในครั้งนี้ มีเจตนาที่จะใช้อำนาจหน้าที่ตามกรอบที่มีอยู่ และการประสานผลักดันร่วมกับส่วนงานต่างๆ เพื่อดูแลและลดผลกระทบให้กับผู้ประกอบวิชาชีพ โดยคำนึงถึงประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่มีอยู่เดิมของพยาบาลไตเทียม บนพื้นฐานของการรักษาคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการฟอกเลือดและระบบบริการสุขภาพโดยรวม

  • สธ.เผยคนกรุงป่วยโรคNCDs สูงกว่าภาพรวมประเทศ ‘อ้วนลงพุง-เบาหวาน-ความดัน’ ติวอสส.ช่วย

  • โรคอ้วนอันตราย! ชี้คนไทยกว่า 30% น้ำหนักเกินมาตรฐาน และกว่า 10% อยู่ในเกณฑ์อ้วน

Fun Database © 2025 - Designed By SS1 Powered by SUMONE