17 สัญญาณอันตราย ที่บ่งบอกว่าเราต้องวางสมาร์ทโฟนเสียบ้าง
อย่างที่รู้กันดีว่าสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตแทบจะกลายเป็นอวัยวะที่ 33 ของคนยุคปัจจุบัน แต่หากเล่นมากเกินไปก็ทำเอาร่างกายเราแย่หนักได้เหมือนกัน วันนี้เราเลยมาพูดถึงสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าเราต้องหยุดเล่นหรือวางสมาร์ทโฟนเสียบ้างให้ฟังก่อนที่ร่างกายคุณจะพังหนักกว่าเดิม
1. สายตาเริ่มเบลอ
การใช้สมาร์ทโฟนเป็นเวลานานเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการสายตาเบลอ จากการศึกษาในปี 2011 พบว่า มากกว่า 90% ของคนที่จ้องหน้าจอโทรศัพท์สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตมากกว่า 2 ชั่วโมงจะเกิดปัญหาปัญหาสายตาอย่างเช่น สายตาเบลอ และอาการตาแห้ง
2. เกิดอาการหวั่นวิตกเมื่อหาโทรศัพท์ไม่เจอ
ถ้าคุณเคยรู้สึกลนลานและตกใจมากเวลาที่หาโทรศัพท์ไม่เจอ โดยแท้ที่จริงแล้วคุณอาจจะวางไว้ผิดที่ หรือไม่ก็ลืมนำมันติดตัวมาด้วยล่ะก็ นั่นแปลว่าคุณกำลังติดโทรศัพท์ขั้นหนักและควรจะเลิกเล่นมันเสียบ้าง การศึกษาในปี 2012 พบว่าผู้คนจำนวนกว่า 73% รู้สึกตื่นตระหนกราวกับดูหนังสยองขวัญเมื่อหาโทรศัพท์ไม่พบ
3. ปวดหัวตุ๊บๆ
การจ้องหน้าจอสมาร์ทโฟนนาน ๆ นอกจากจะทำให้เกิดปัญหากับสายตาแล้ว ยังเป็นสาเหตุทำให้ปวดหัวและเกิดอาการอ่อนเพลียอีกด้วย นอกจากนี้การใช้จ้องหน้าจอนาน ๆ ทำให้มีผลกระทบต่อสมอง โดยการศึกษาครั้งหนึ่งค้นพบว่ าสมาร์ทโฟนเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะสมองเสื่อม ซึ่งส่งผลต่อการรับรู้ของสมองและความทรงจำระยะสั้นอีกด้วย
4. คุณทำงานเกินเวลา
ถ้าเกิดว่าคุณพบว่าตัวเองนั้นเช็คอีเมล ถ้าคุณชอบเช็กอีเมลในช่วงมื้อเย็นหรือในงานเลี้ยงต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาเป็นเวลาบ่อยครั้ง นั่นแปลว่าคุณกำลังติดสมาร์ทโฟนแล้วล่ะ ในการวิจัยปี 2012 พบว่า เกือบ 80% ของคนที่ทำการสำรวจนั้นยอมรับว่า ได้ทำงานเกินเวลาโดยไม่รู้ตัวจากการเพียงแค่เช็กอีเมล หรือแค่เพียงส่งข้อความสั้น ๆ ที่เกี่ยวกับงาน ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้กินเวลาประมาณ 7 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เทียบเท่ากับการทำงานหนึ่งวันเลยทีเดียว
5. นอนไม่เต็มอิ่ม
การวางโทรศัพท์เอาไว้ข้างหมอนคือสาเหตุที่ทำให้คุณนอนหลับได้ไม่เต็มอิ่ม เพราะมันจะไปรบกวนการนอนของคุณ ทำให้นอนไม่เต็มอิ่ม จากการศึกษาเผยว่า การใช้เวลากับสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานก่อนนอนจะทำให้นอนหลับยากและยังทำให้ครึ่งหลับครึ่งตื่นอยู่ตลอดเวลา นี่ยังไม่นับรวมกับการที่คุณจะต้องเช็กการแจ้งเตือนทุกครั้งก่อนหลับตานอน ที่จะทำให้การนอนของคุณไม่ต่อเนื่องอีกด้วย ทางที่ดีที่สุดคือควรจะปิดโทรศัพท์และวางมันให้ห่างตัวก่อนนอนทุกครั้ง
6. รู้สึกว่าโทรศัพท์สั่นอยู่ตลอดเวลา
ถ้าคุณรู้สึกว่าโทรศัพท์สั่นแต่เมื่อหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาแล้วกลับไม่มีอะไรอยู่บ่อย ๆ นั่นแปลว่าคุณควรจะพึ่งการรักษาทางการแพทย์แล้วล่ะ ในการศึกษาปี 2012 ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Computers of Human Behavior นั้นบอกว่า อาการเหล่านั้น คืออาการของโรค Phantom Vibration Syndrome ซึ่งจะเกิดขึ้นในหมู่วัยรุ่นอย่างน้อย 1 ครั้งต่อ 2 สัปดาห์ แต่ถ้าหากอาการหนักขึ้นก็อาจจะเกิดได้บ่อยขึ้น ซึ่งนั้นเป็นสัญญาณว่าคุณควรจะเลิกเล่นโทรศัพท์เสียที
7. นิ้วมือเริ่มหงิกงอ
การเล่นสมาร์ทโฟนติดต่อกันเป็นเวลานาน ครั้งละหลายๆ ชั่วโมง มีความเสี่ยงทำให้เกิดอาการนิ้วล็อก และตะคริวตามมือและนิ้วมือ คุณควรจะวางโทรศัพท์ลงแล้วยืดเส้นยืนสายบ้างเพื่อความปลอดภัย
8. ติด Hashtag ให้กับคำพูดหรือใช้ภาษาแชทตลอดเวลา
ทั้งนี้ อาการนิ้วล็อก เป็นกลุ่มอาการหนึ่งที่เกิดกลุ่มคนที่ใช้มือในการทำงานอย่างหนัก ซึ่งจะพบว่ามีอาการปวดและมีเสียงดังกึก ทำให้เส้นเอ็นไม่โก่งตัวออกเวลางอนิ้ว นอกจากนี้ยังมีอาการอักเสบของเส้นเอ็น ทำให้เส้นเอ็นบวมและหนาตัว ทำให้ลอดผ่านห่วงลำบาก จึงรู้สึกเจ็บและเกิดอาการนิ้วล็อกตามมา
9. ส่งข้อความหาใครบางที่อยู่ใกล้ๆ แทนการพูดคุย
การส่งข้อความหาคนใกล้ตัวแทนการพูดคุยเป็นสัญญาณของความล้มเหลวทางการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพราะการที่เราเลือกใช้การพูดคุยผ่านข้อความแทนการพูดคุยกันต่อหน้า ก็จะยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแย่ลง รีบวางสมาร์ทโฟนลงก่อนที่จะสูญเสียความสัมพันธ์เหล่านั้นไปเถอะ
10. แม้แต่อาบน้ำก็ยังเอาโทรศัพท์เข้าไปด้วย
หากคุณนำสมาร์ทโฟนของคุณติดตัวไปด้วยทุกที่แม้กระทั่งห้องน้ำ นั่นแปลว่าคุณกำลังติดสมาร์ทโฟนอย่างหนักและควรวางมันลงเสียที จากการศึกษาซึ่งจัดทำขึ้นโดยหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอย่าง LG พบว่ามีถึง 77% ของคนที่ใช้สมาร์ทโฟนที่นำโทรศัพท์ติดตัวไปด้วยทุกทีไม่ว่าจะเวลานอนหรือเข้าห้องน้ำก็ตาม
11. สนใจที่จะโพสต์รูปของกินของคุณมากกว่าการกินมันเข้าไป
ปัจจุบันมีคนมากกว่า 5 ล้านคนที่แท็กรูปภาพอาหาร และให้ความสนใจกับการแชร์รูปภาพอาหารของคุณมากกว่าที่จะสนใจคนที่นั่งอยู่ตรงหน้าซึ่งนั่นเป็นการทำลายความสัมพันธ์วิธีหนึ่ง จากการศึกษาของมหาวิทยาลัย The University of Essex พบว่า การที่มีโทรศัพท์วางอยู่ให้เห็นในขณะที่กำลังพูดคุยกัน จะทำให้ทั้งสองฝ่ายสนใจอีกฝ่ายน้อยลง
12. สบตาคนอื่นน้อยลง
เทคโนโลยีเป็นสาเหตุทำให้คนสบตากันน้อยลง จากการศึกษาพบว่าโดยปกติแล้วเมื่อคนพูดคุยกันมักจะเกิดการสบตากันอย่างน้อย 30-60% ของบทสนทนาทั่วไป และสายตาเป็นตัวที่ช่วยในการสื่อสารทางอารมณ์ถึง 60-70% ดังนั้น ถ้าคุณรู้สึกว่าอยากจะจ้องหน้าจอมากกว่าที่จะมองตาคนอื่น นั่นได้เวลาเลิกเล่นโทรศัพท์แล้วล่ะ
13. บ่นทุกอย่างลงในโซเชียลเน็ตเวิร์ก
หากคุณพบเจอเรื่องอะไรก็ตามในแต่ละวันและเลือกที่จะแสดงความรู้สึกนึกคิดทุกอย่างลงในโซเชียลเน็ตเวิร์กแล้วนั้น มันเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังติดสมาร์ทโฟนอย่างหนัก ซึ่งการแชร์ทความรู้สึกนึกคิดทุกสิ่งทุกอย่างลงในโซเชียลเน็ตเวิร์กนั้นไม่ได้มีผลดีต่อตัวคุณเองเลยแม้แต่น้อย
14. ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง
เราคงเคยได้ยินข่าวว่ามีคนประสบอุบัติเหตุบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการที่ก้มหน้าก้มตาเล่นสมาร์ทโฟนโดยไม่ได้สนใจสิ่งรอบข้างใช่ไหมคะ ซึ่งนั่นเกิดจากการที่ติดสมาร์ทโฟนมากเกินไปโดยไม่ได้สนใจรอบข้าง ไม่ใช่เพียงเราจะเดือดร้อนหากเกิดอุบัติเหตุ แต่ครอบครัวและคนรอบข้างเราอาจจะเดือดร้อนตามไปด้วยจากพฤติกรรมที่ไม่ดีแบบนี้
15. บุคลิกภาพแย่ลง
เมื่อคุณติดสมาร์ทโฟนมาก ๆ จะทำให้คุณเป็นคนไหล่ตก เนื่องจากเวลาที่คุณก้มหน้าจิ้มโทรศัพท์ ร่างกายของคุณก็จะโน้มตัวไปข้างหน้าอัตโนมัติ หากอยู่ในท่านั้นนาน ๆ และบ่อยครั้งก็จะทำให้กระดูกหลังและคอเปลี่ยนรูป ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้กล้ามเนื้ออักเสบและบุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไป
16. เลิกบันทึกเบอร์โทรศัพท์ลงมือถือ
ยังจำได้หรือไม่ว่าครั้งสุดท้ายที่บันทึกเบอร์โทรศัพท์ลงมือถือนี่มันเมื่อไร แล้วคุณจำได้หรือเปล่าว่าคุณใช้โทรศัพท์เพื่อโทรหาใครสักคนครั้งล่าสุดเมื่อไร หากคุณจำไม่ได้ นั่นแปลว่าคุณเลือกที่จะใช้โทรศัพท์ในการติดต่อสื่อผ่านทางข้อความมากกว่าใช้โทรศัพท์เพื่อโทรหาใครบางคน
17. เสพติดการเซลฟี่
หลายคนเสพติดการถ่ายรูปตัวเอง หรือที่เรียกว่าเซลฟี่ขนาดหนักจนถึงขนาดต้องถ่ายรูปในแทบจะทุกอิริยาบถ บางรายอาจถึงขั้นโพสต์เป็นคลิปวิดีโอลงในโซเชียลมีเดีย โดยผู้คนเหล่านี้อาจจะไม่ได้รู้เลยว่า บางครั้งการโพสต์รูปเซลฟี่ของตัวเองบ่อย ๆ นั้น อาจจะทำให้เกิดอันตรายกับตัวเองได้